Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/401
Title: | รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการบอกต่อแบบปากต่อปากในการเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
Other Titles: | The causal relationship model of wom behavior to buy pet food via facebook of consumer in Bangkok and Metropolitan region |
Authors: | พันธ์กานต์ ทศแสนสิน |
metadata.dc.contributor.advisor: | สุมามาลย์ ปานคำ |
Keywords: | ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ;อาหารสัตว์ -- การจัดซื้อ -- วิจัย;พฤติกรรมผู้บริโภค -- กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการบอกต่อแบบปากต่อปากในการเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงผ่านเฟซบุ๊กจำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสะดวกจากผู้ที่มีประสบการณ์ซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงผ่านเฟซบุ๊ก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ความโด่ง ค่าสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยตัวแบบสมการเชิงโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล โมเดลวิจัยประกอบด้วยทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านคุณค่าตราสินค้า 2) ด้านความคุ้มค่าของตราสินค้า 3) ด้านความสัมพันธ์ 4) ด้านความภักดีของลูกค้า 5) ด้านความตั้งใจซื้อ และ 6) ด้านพฤติกรรมการบอกต่อแบบปากต่อปาก ผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยมีค่าสถิติ ไค-สแควร์ (χ 2) เท่ากับ 572.13, ค่าองศาอิสระ(df) เท่ากับ 381, ค่า CMIN/df เท่ากับ 1.50, ค่า GFI เท่ากับ 0.92, ค่า AGFI เท่ากับ 0.90, ค่า CFI เท่ากับ 0.98, ค่า SRMR เท่ากับ 0.04, ค่า RMSEA เท่ากับ 0.03 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.90 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการบอกต่อแบบปากต่อปากในการเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงผ่าน เฟซบุ๊กได้ร้อยละ 90 โดยพบว่าด้านความตั้งใจซื้อ มีผลต่อพฤติกรรมการบอกต่อแบบปากต่อปากในการเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงผ่านเฟซบุ๊ก |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of this research were to 1) develop a causal relationship model of WOM behavior to buy pet food via Facebook of consumer in Bangkok and metropolitan region and 2) examining the consistency of the model with empirical data samples. A sample of the 400 individual who had an experience of buying pet food on Facebook, using convenience sampling method. The online questionnaires were used to collect data. Statistic in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis, correlation analysis, confirmatory factor analysis and structural equation model analysis with software analysis used to analysis data. Research model included 6 factors: 1) Brand Equity 2) Value Equity 3) Relationship Equity 4) Customer Royalty 5) Purchase Intention 6) WOM Behavior. The findings were as follows: the model is consistent with the empirical data to a great extent. The statistic shows the Chi-square statistics goodness fit test (χ 2) = 572.13, df = 381, CMIN/df = 1.50, GFI = 0.92, AGFI = 0.90, CFI = 0.98, SRMR = 0.04, RMSEA = 0.03 and the final is the regression coefficient = 0.90, so the model could explain the variability of the WOM Behavior to buy pet food on Facebook 90 percent. The finding was purchase intention affect to WOM Behavior to buy pet food on Facebook. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สท.ม. (เทคโนโลยีสื่อสังคม)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 |
metadata.dc.description.degree-name: | สารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | เทคโนโลยีสื่อสังคม |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/401 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | ICT-SMT-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phantakant Thossansin.pdf | 4.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.