Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/451
Title: | การสร้างความเป็นสถาบันของสถาบันคลังสมองของไทย |
Other Titles: | Institutionalization building of Thai Think Tank Institute |
Authors: | ภูมิใจ เลขสุนทรากร |
metadata.dc.contributor.advisor: | สมบูรณ์ สุขสำราญ |
Keywords: | สถาบันคลังสมอง;การบริหารรัฐกิจ;การเมืองการปกครอง -- ไทย |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัย “การสร้างความเป็นสถาบันของสถาบันคลังสมองของไทย” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบ แนวคิด และบทบาทของคลังสมองต่อการบริหารงานภาครัฐ ศึกษาและจำแนกประเภทขององค์กรที่มีความเป็นสถาบันคลังสมองของประเทศไทย และหาแนวทางการสร้าง ความเป็นสถาบันคลังสมองที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มผู้บริหารหรือเคยดำรงตำแหน่งสาคัญ ในฝ่ายบริหารของคณะรัฐบาล นักวิชาการในประเทศไทย และหน่วยงานคลังสมองต่างประเทศ ผลการวิจัย พบว่า สิ่งสำคัญของการสร้างความเป็นสถาบัน ประกอบด้วย 2 ประการ คือ ประการที่ 1 การกำหนดหลักการการสร้างสถาบันคลังสมองชาติ ให้มีโครงสร้างแบบ Parallel Board และใช้หลักการของ Pre approval และ Post audit เพื่อให้จัดตั้งสถาบันได้ง่าย ตรวจสอบได้ และถูกยกเลิกได้ง่าย มีการสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม และ ประการที่ 2 การออกกฎหมายสถาบันคลังสมองแห่งชาติ โดยกาหนดการบังคับใช้ ผู้รับผิดชอบ หลักเกณฑ์การสรรหาคณะกรรมการ ข้อกำหนดต่าง ๆ และห้วงเวลาการดำรงตาแหน่ง เป็นต้น จากผลการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยได้รูปแบบของสถาบันวิชาการเชิงนโยบายที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 มูลนิธิคลังสมองที่ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคล (Advocacy Tank) และ ประเภทที่ 2 คลังสมองของพรรคการเมือง (Party Think Tank) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกิดสถาบันคลังสมอง เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม แต่รัฐให้การรับรองทางกฎหมาย และให้สิทธิทางด้านภาษี เพื่อจูงใจให้มีการส่งเสริมหรือจัดตั้งสถาบันเพื่อสร้างความยั่งยืนและเสริมสร้างความคิดให้กับผู้นำประเทศ และเป็นแหล่งข้อมูลแบบ “Third Idea” ที่มีอิสระทางความคิด เป็นกลาง แต่อยู่ภายใต้การตรวจสอบของภาครัฐ และสามารถสนับสนุนให้กับพรรคการเมืองได้เป็นรากฐานที่ช่วยพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเมืองและระบอบการปกครองของไทย |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purpose of research on “Institutionalization of Thai Think Tank Institute” were to study patterns, concepts, and roles of think tanks in public administration and classify think tanks in Thailand and to propose guidelines for institutionalization of think tanks that could meet Thai contexts. This research applied qualitative methodology including in-depth Interviews and focus group discussion. Data were collected from key informants: executive or ex-executive in the government and Thai and foreign think tank academic officer. The research result that there were two key factors for institutionalizationkey First, a think tank Institute should apply the parallel administrativeparallel structure with pre -approval and Postt-audit plenciples to its administration. This could facilitate the audit process and the establishment as well as the disbandment the institute. In addition,public participae and private sector participation should be encouraged. Second there be laws and regulations on think tanks including responsible person determination, nomination criteria, requirement, term of office etc . The research found two forms of InstitutionalizatInstitution that could meet Thai context:dvocacy think tank and party think tank The research recommended that the public sector should encourage the establishment of think tanks and allow public participation. An established think tanks, however, should be legally accredited. It is possible to apply tax incentives for the establishment of think tanks that could lead to sustainability. In addition, national leader’s thinking should be strengthened. Think tank could be institutions of third idea which have freedom of thoughts and could be audited by responsible government organizations. Finally, they should support political parties to strengthen them as well as the national democratic system |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/451 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | PAI-PA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Avm. Poomjai Leksuntarakorn.pdf | 4.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.