Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/455
Title: | ความเป็นพลเมืองกับการบริหารจัดการตนเองของชุมชนเพื่อการดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ศึกษาชุมชนเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | Civic education in the self-administration to preserve cultural identities: a case study of Mueang Pon, Khun Yuam District, Mae Hong Son Province |
Authors: | สุวภัทร หนุ่มคำ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ติน ปรัชญพฤทธิ์, เฉลิมพร เย็นเยือก |
Keywords: | การมีส่วนร่วมทางสังคม -- แม่ฮ่องสอน;การมีส่วนร่วมของชุมชน -- ไทย -- แม่ฮ่องสอน -- วิจัย;อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ -- ไทย -- แม่ฮ่องสอน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาความเป็นพลเมืองกับการบริหารจัดการตนเองของชุมชน เพื่อการดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ชุมชน เมืองปอน ด้วยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คน และมีการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 1 กลุ่ม พร้อมทั้งมีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมร่วมด้วย ผลการศึกษาพิจารณาจากกระบวนการขับเคลื่อนและดาเนินกิจกรรมของชุมชน ผลการศึกษาพบว่าคุณลักษณะที่ดีของการเป็นพลเมืองมี 3 ด้าน ได้แก่ 1) คุณลักษณะด้านการตระหนักรู้ในสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง 2) คุณลักษณะเกี่ยวกับพลเมืองกับความสัมพันธ์ทางสังคม และ 3) ด้านคุณธรรมความเป็นพลเมือง รูปแบบในการบริหารจัดการตนเองของชุมชน ประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 5 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) การรวมตัวกันของคนในชุมชน เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) การมีส่วนร่วมในกระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของคนในชุมชน 3) มีแบบแผน ข้อตกลง กฎกติกา หรือระเบียบที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมกำหนด และยึดถือร่วมกัน 4) การจัดการทุนและเทคโนโลยีของชุมชน 5) การใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาชุมชนในการจัดการตนเอง ผลที่เกิดในระดับชุมชน/ท้องถิ่น จากการบริหารจัดการตนเองของชุมชนโดยพลเมือง เพื่อการดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ในเมืองปอน คือ จะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นกับชุมชน และผลที่เกิดขึ้นกับสังคมและประเทศชาติ คือช่วยลดอคติชุมชนนิยม/ท้องถิ่นนิยม เป็นการส่งเสริมความเป็น พหุวัฒนธรรม รวมทั้งยังเป็นการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานทางวัฒนธรรมอีกด้วย |
metadata.dc.description.other-abstract: | This study aimed to investigate civic education in the self-administration of the Tai Yai community, Muenag Pon, to preserve their cultural identities. The study applied qualitative methodology. The instruments were a semi-structured interview with fifteen key informants, a focus group, and non-participant observation. Data were analyzed based on the community’s driven process and activities. The results revealed three good characteristics of civic education: awareness of civil rights and responsibilities, relationship between civil and society, and civic morality, The forms of self-administration included the gathering of the people in the community to do related activities, participation in processes or activities, the community’s plans, agreements, rules, and regulations obeyed by the people in the community, and application of knowledge and local wisdom to self-administration The self-administration in the community level to preserve the community’s cultural identities contributed to the community’s strength and self-dependence which promoted good relationship among the community people. In the national level, it contributed to the reduction of local prejudice and the promotion of multiculturalism as well as the sustainable development of the community on the cultural basis. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/455 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | PAI-PA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwaphat Noomkham.pdf | 4.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.