Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/500
Title: | ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารให้ความเผ็ดในระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกป่น |
Other Titles: | Changes in capsaicinoid during product development process of chili powder |
Authors: | ณิชาภรน์ สุขชุ่ม |
metadata.dc.contributor.advisor: | ขวัญหทัย แช่ทอง |
Keywords: | พริกป่น -- การผลิต -- มาตรฐาน;พริกป่น -- คุณภาพ;พริก -- เคมีวิเคราะห์ -- วิจัย;การพัฒนาผลิตภัณฑ์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารให้ความเผ็ดในระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกป่น ได้แก่ การเตรียม 2 แบบ (การลวก, การแช่) เทียบกับพริกสด และการอบแห้งพริก 3 แบบ ได้แก่ อบแห้งโดยพลังงานแสงอาทิตย์, ตู้อบลมร้อนแบบถาด และอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง และปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การบดและการคั่ว โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารให้ความเผ็ดด้วยวิธีวิเคราะห์ HPLC พบว่าการเตรียมทั้ง 2 แบบมีผลต่อการลดลงของสารแคปไซซินอยด์เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณในพริกสด จากการศึกษากระบวนการอบแห้งพริกที่แตกต่างกัน 3 แบบ มีผลต่อสมบัติทางเคมีกายภาพ และพริกแห้งจากกระบวนการทาแห้งแบบแช่เยือกแข็งมีปริมาณสารแคปไซซินอยด์มากกว่าที่สุด รองลงมา คือ พริกแห้งโดยใช้ ตู้อบลมร้อนแบบถาด และพริกแห้งจากการอบแห้งโดยพลังงานแสงอาทิตย์ (p0.05) นอกจากนั้นกระบวนการแปรรูปอื่นๆ ได้แก่ การคั่วพริกแห้งที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ไม่มีผลต่อการลดลงของปริมาณสารแคปไซซินอยด์ ผลการเก็บรักษาพริกป่นในบรรจุภัณฑ์แตกต่างกัน 2 แบบ คือ พลาสติกแบบใส (PP) และอลูมิเนียมฟอยล์ ที่อุณหภูมิ 5, 20, 30 และ 40°C เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า อุณหภูมิและระยะเวลาในการเก็บมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีกายภาพ ที่สาคัญพบการลดลงของปริมาณสารแคปไซซินอยด์หลังเก็บในทุกสภาวะ ด้านการประเมินการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์พริกป่น พบว่าตัวอย่างหลังเก็บที่อุณหภูมิสูง (30 และ 40°C) ได้คะแนนการยอมรับลดลง อย่างไรก็ตามปริมาณ อะฟลาทอกซินในพริกป่นหลังเก็บ 12 สัปดาห์ ยังคงไม่เกินค่ามาตรฐานสินค้าเกษตรซึ่งกาหนดอะฟลาทอกซินของพริกแห้งต้องไม่เกิน 15 μg/kg |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objective of this study was to investigate the changes of capsaicinoid during the product development process of chili powder using HPLC. The processing steps included two pretreatment processes (blanching and soaking), the three drying processes which are Sun Drying (SD), Try Drying (TD) and Freeze Drying (FD), and the other factors (grinding and roasting). The results showed that the pretreatment process affected the decrease in capsaicinoid in blanched and soaked chili compared with the fresh one. The effects of drying methods on the quality of dried chili were investigated. The different drying methods gave physical and chemical properties and FD sample contained the highest capsaicinoid content TD and SD samples ((p≤ . However, the other processing step such as roasting at 120 °C for 10 minutes could not affect the decrease of capsaicinoid value. The stored chili powder kept in 2 different types of packagings (polypropylene bag (PP) and aluminum foil) showed changes in quality during storage at 5, 20, 30 and 40°C for 12 weeks. The results showed that storage temperature and storage time affected the changes in physicochemical properties. Moreover, capsaicinoids of stored chili powder decreased with time in all storage conditions. In terms of sensory acceptability on stored chili powder, high temperature (30 and 40°C) altered a decrease of acceptance score. However, aflatoxin content of all stored chili does not exceed Thai agricultural standard of dried chili (TAS 3001-2010) which indicated that it must not be more than 15 μg/kg. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/500 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arg-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nichaporn Sukchum.pdf | 4.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.