Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/505
Title: การออกแบบแอนิเมชัน 3 มิติที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ เรื่อง ความภูมิใจในตนเอง
Other Titles: 3D animation design for the improvement of self-esteem
Authors: ฤทธิสรณ์ จีนรัตน์
metadata.dc.contributor.advisor: วัฒนะ จูฑะวิภาต
Keywords: การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์;แอนิเมชั่น -- การผลิต -- วิจัย;ภาพยนตร์สามมิติ -- การออกแบบ -- วิจัย;ความภาคภูมิใจในตนเอง
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการค้นคว้าเพื่อจัดทำสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ สาหรับการแก้ปัญหาการขาดความภูมิใจในตนเองให้แก่เด็ก อายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้และเป็นช่วงที่กระบวนการเชื่อมต่อของเซลล์สมองจะทำงานดีที่สุด เด็ก ๆ จึงควรได้รับการปลูกฝังการสร้างความใฝ่รู้ เรียนรู้ และพัฒนาทักษะอย่างรอบด้าน ในช่วงนี้ทำให้ตระหนักและเห็นคุณค่าในตัวเองและภูมิใจในการกระทำของตนเอง งานวิจัยนี้ไม่ได้เจาะจงเพียงแต่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กเท่านั้นผู้คนทั่วไปก็สามารถรับชมและซึมซับแนวคิดของแอนิเมชันเรื่องนี้ได้ เพื่อทำให้ผู้คนมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น แม้แอนิเมชันชุดนี้จะไม่อาจแก้ปัญหาการขาดความภูมิใจในตัวเองได้ แต่ก็สามารถสร้างความภูมิใจในตัวเองให้ผู้รับชมมากขึ้นได้ และทำให้มองโลกในแง่ดีมากขึ้นได้ จากการสำรวจจากการให้เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6-12 ปี จำนวน 10 คนที่ได้รับชมและได้ผลตอบรับเป็นอย่างดีในแง่มุมของการออกแบบตัวละคร ความบันเทิง และเป็นแอนิเมชันที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to produce a 3D animation for the resolution to lack of self-esteem in children aged 6-12 years or during the middle childhood. During this period, children begin to develop foundational and cognitive skills and realize the value of their identity and actions, so it is an appropriate time for them to be fully equipped with knowledge and skills. The research did not target only at children but also people of all ages. Through this 3D animation, the audience could improve their self-esteem, become more optimistic, and enjoy the life they live after watching it. The result of the evaluation conducted with 10 children revealed that the animation was satisfactory in terms of character design and enjoyment and could be easily understood by the target audience.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม. (คอมพิวเตอร์อาร์ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: คอมพิวเตอร์อาร์ต
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/505
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:DIA- ComArt-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rittisorn Jeenrat.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.