Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/522
Title: การศึกษาเชิงประจักษ์ด้านทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลของข้าราชการทหารอากาศ
Other Titles: An empirical study of digital innovation literacy skills of Royal Thai Air Force personnel
Authors: ชบา โพธิ์มณี
metadata.dc.contributor.advisor: โกวิท รพีพิศาล
Keywords: ข้าราชการทหารอากาศ -- การรู้จักใช้เทคโนโลยี;การรู้เท่าทันสื่อ -- วิจัย;สื่ออิเล็กทรอนิกส์ -- การพัฒนา
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาเชิงประจักษ์ด้านทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลของข้าราชการทหารอากาศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะที่แตกต่างของประชากรศาสตร์ต่อทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลของข้าราชการทหารอากาศ ศึกษาอิทธิพลของความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการเข้าถึงและตระหนักดิจิทัล การใช้งานเครื่องมือด้านดิจิทัล และการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการทำงานร่วมกัน และศึกษาอิทธิพลของทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลที่มีผลต่อการวางแนวทางและประโยชน์การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลของข้าราชการทหารอากาศ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือข้าราชการทหารอากาศสังกัดกองทัพอากาศทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามใช้วัดระดับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล วัดระดับความคิดเห็นของระดับความสามารถเกี่ยวกับทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัล และวัดระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแนวทางและประโยชน์การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลที่เหมาะสม ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.96 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.53 และได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานของการวิจัย ได้แก่การทดสอบแบบที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางและประโยชน์การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลล้วนมีอิทธิพลที่ส่งผลมาจากทักษะด้านต่าง ๆ 1) ด้านการเข้าถึงและตระหนักดิจิทัล ได้แก่ การใช้งานระบบปฏิบัติการ (b=.069) การใช้อินเทอร์เน็ต (b=.080) การใช้งานโปรแกรมปฏิทิน (b=.060) 2) ทักษะการใช้เครื่องมือด้านดิจิทัลขั้นต้น ได้แก่ การใช้โปรแกรมนำเสนอ (b=.159) การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (b=.112) การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ (b= -.077) 3) ทักษะการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการทำงานร่วมกัน ได้แก่ การใช้โปรแกรมจับภาพหน้าจอ (b=.094) การกำหนดรูปแบบการพิสูจน์ตัวตน (b=.067) และ 4) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลคือเรื่องของการใช้ชุดโปรแกรมสำนักงานโดยเฉพาะโปรแกรมตารางคำนวณ (b=.186)
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this quantitative research are 1) to study different characteristics of demography on digital literacy skills of the Air Force officers, 2) to study influential knowledge that affects digital technology access and awareness, digital technology tools, digital media construction for collaboration and 3) to study influential factors of knowing digital literacy skills and their innovation that would impact on planning and benefits from development of digital literacy skills of the Royal Thai Air Force officials. Sample group used in this research was 400 Air Force Civil Service officers in the central and provincial areas. The instrument used in this research was a questionnaire measuring levels of knowledge on digital technology, ability on knowing digital innovation, and opinions on planning and benefits from development of model-fit on digital innovation skills. The IOC value of 0.96 was obtained with validity of 0.53 and the Cronbach's Alpha coefficient of .971. Descriptive statistics used in the research were frequency, percentage, mean and standard deviation. Statistics used to test research hypotheses included t-test, F-test, and multiple regression analysis. The research found that knowing digital innovation has affected planning and benefits from various skills: 1) Digital technology access and awareness concerning usages of the following computer technologies, i.e. operating system (b=.069), internet (b=.080), and calendar application (b=.060). 2) Skills in using basic digital technology tools for the presentation of programs (b=.159), word processing programs (b=.112), and spreadsheet programs (b=-.077). 3) Creating digital media for taskforce collaboration concerning usages of multimedia and security programs, i.e. screen capture program (b=.094), defining authentication (b=.067). And 4) the knowledge of digital technology focuses on office software, especially spreadsheet programs
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/522
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:ICT-ITM-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Flight Lieutenant Chaba Phomanee.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.