Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/531
Title: | สถานการณ์ทางสังคมและจิตลักษณะที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันและฟีเจอร์ต่าง ๆ ของสมาร์ตโฟนในเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนทุ่งสงและโรงเรียนสตรีทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Social situation and psychological characteristics influencing behaviors towards creative uses of applications and features of smartsphones: a case study of the students from Thung Song and Satree Thungsong Junior High Schools, Nakhon Si Thummarat Province |
Authors: | อังคณา ดุษณีนภดล |
metadata.dc.contributor.advisor: | โกวิท รพีพิศาล |
Keywords: | สมาร์ทโฟน -- การตลาด;แอปพลิเคชัน;สมาร์ทโฟน -- การตลาด; แอปพลิเคชัน; พฤติกรรมผู้บริโภค -- นครศรีธรรมราช;นักเรียนมัธยมศึกษา -- นครศรีธรรมราช -- พฤติกรรม |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ลักษณะภูมิหลังของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันส่งผลต่อ พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างสร้างสรรค์ 2) สถานการณ์ทางสังคม จิตลักษณะของนักเรียนที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างสร้างสรรค์ในแต่ละด้าน 3) พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันและฟีเจอร์ต่าง ๆ บนสมาร์ตโฟนของนักเรียนที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างสร้างสรรค์ในแต่ละด้าน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนทุ่งสงและโรงเรียนสตรีทุ่งสง จำนวน 348 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยร้อยละ การกระจายของข้อมูลค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐานได้แก่ F test (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ระดับการศึกษาและอาชีพผู้ปกครองของนักเรียนที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกัน และระดับผลการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างสร้างสรรค์แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการทดสอบการ ถดถอยเชิงพหุ พบว่า นักเรียนค้นพบความเป็นจริงของสถานการณ์ทางสังคมในแต่ละด้านในระดับมาก ความเป็นกลุ่มนิยมและทัศนคติที่ดีในการใช้ในระดับมาก พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนในด้านการใช้อย่างความปลอดภัยในระดับปานกลาง การใช้อย่างถูกกาลเทศะในระดับจริงมาก และการใช้อย่างมีประโยชน์ในระดับจริงมาก ทั้งนี้สถานการณ์ทางสังคม ความเป็นกลุ่มนิยมและทัศนคติ และการใช้แอปพลิเคชันและฟีเจอร์ต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่น ในกลุ่มสถานการณ์ทางสังคม สามารถทำนายพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างปลอดภัยได้สูงสุดในด้านโรงเรียน (การสนับสนุนจากครู R2 = .238) รองลงมาคือ ความเป็นกลุ่มนิยม (R2 = 207) และการใช้แอปพลิเคชันและฟีเจอร์ต่าง ๆ ในด้านอำนวยความสะดวก (R2 = 139) ขณะที่ระดับการศึกษาและอาชีพผู้ปกครองที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกัน และระดับผลการเรียนที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างสร้างสรรค์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
metadata.dc.description.other-abstract: | The purposes of this research are 1) to study background characteristics of Junior high school students that affect behaviors towards creative uses of smartphones, 2) to study social situation and psychological characteristics influencing behaviors towards creative uses of applications and features of smartphones in different areas: safe use, proper use, and utilization, and 3) to study behaviors towards creative uses of applications and features of smartphones of the students that have influences on creative uses of smartphones in different areas. The questionnaire is used as a tool for collecting data. There were 348 junior high school students at Thung Song junior high school and Satree Thungsong junior high school. The statistics used in this research includes percentage, data distribution, mean, standard deviation, F-test (One-Way ANOVA), and Multiple Regression Analysis. The results of a test of differences revealed that according to different educational levels and careers of students’ guardians, there were no differences in creative use behaviors of smartphones. Different grade results of the students affected creative use behaviors of smartphone differently at statistically significant level of 0.05. For the multiple regression analysis of social situation groups, it was predictable that safe use of smartphone behavior was at the highest level in school aspect (Teacher support in using smartphone) (R2=238). Popularity (R2=207) and a use of applications and various features in facilitating condition (R2=139) were at second highest level. With reference to different educational levels and careers of students’ guardians, there were no differences in creative use behaviors of smartphones. Different grade results of the students affected creative use behaviors of smartphones differently at statistically significant level of 0.05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/531 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | ICT-ITM-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aungkana Dussaneenoppadol.pdf | 3.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.