Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/592
Title: รูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการตรวจพิสูจน์หลักฐานภาคเอกชนในประเทศไทย
Other Titles: The optimal model of private criminalistics service in Thailand
Authors: ศศิวิมล ทองกลม
metadata.dc.contributor.advisor: ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม
Keywords: การพิสูจน์หลักฐาน;พยานหลักฐาน -- ไทย;ธุรกิจของเอกชน -- การควบคุมคุณภาพ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการตรวจพิสูจน์หลักฐานภาคเอกชน ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคการตรวจพิสูจน์หลักฐานในประเทศไทย มุมมองและทัศนะการขยายงานให้บริการตรวจพิสูจน์หลักฐานภาคเอกชน ในประเทศไทย รวมถึงศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการตรวจพิสูจน์หลักฐานภาคเอกชนในประเทศไทย โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าเอกสารการสัมภาษณ์ เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้รับบริการมีความเชื่อมั่น ในผลการตรวจพิสูจน์และนำผลการตรวจมาใช้ประกอบการพิจารณาคดีในกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันภาคเอกชนมีการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก การให้บริการตรวจพิสูจน์ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคและวิธีการตรวจพิสูจน์ และในปี พ.ศ. 2559 ได้มีกฎหมายส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการตรวจพิสูจน์ภาคเอกชน ขณะเดียวกันได้มีการพัฒนาเครือข่ายเพื่อร่วมตรวจพิสูจน์หลักฐาน ในส่วนของปัญหาอุปสรรคและข้อจากัดในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า มีความไม่เพียงพอของทรัพยากร ได้แก่ งบประมาณ บุคลากร เครื่องมือ และการให้บริการยังไม่ครอบคลุม ขาดกฎหมายที่ให้อานาจในการปฏิบัติงาน การปรับเปลี่ยนนโยบายผู้บริหาร ยังไม่มีระบบการจัดเก็บฐานข้อมูล รวมถึงความยากและความซับซ้อนของงาน สาหรับมุมมองการขยายงานตรวจพิสูจน์ไปยังภาคเอกชนนั้น เห็นว่าเป็นการลดภาระด้านการตรวจพิสูจน์ของภาครัฐลง แต่หน่วยงานเอกชนที่เข้าร่วมต้องมีความน่าเชื่อถือและผ่านการรับรองมาตรฐาน การตรวจพิสูจน์ และผู้ตรวจพิสูจน์ต้องมีจรรยาบรรณ ตลอดจนการเก็บความลับ โดยมีหน่วยงานกากับและมีมาตรการสนับสนุนด้านงบประมาณ พร้อมทั้งคำนึงถึงความเสี่ยงในการลงทุนของภาคเอกชนด้วย และจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการตรวจพิสูจน์หลักฐานภาคเอกชนในประเทศไทย คือ หน่วยงานรัฐผู้รับผิดชอบหลัก ทำหน้าที่ตรวจพิสูจน์และเป็นผู้คัดกรองก่อนจัดส่งวัตถุพยานไปให้ภาคเอกชนตรวจพิสูจน์ โดยหน่วยงานรัฐจะเป็นผู้ออกรายงานและรับรองผลการตรวจพิสูจน์ การดำเนินการในลักษณะนี้เป็นการลดภาระด้านการตรวจพิสูจน์ของภาครัฐลง และทำให้ผู้รับบริการมีความเชื่อมั่นในผลการตรวจพิสูจน์ อีกทั้งการมีหน่วยงานกากับการปฏิบัติงานด้านการตรวจพิสูจน์ ทำให้สามารถกากับติดตามและควบคุมงานด้านการตรวจพิสูจน์หลักฐานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this research are to study situations, problems and obstacles of criminalistics service in Thailand, and to design the optimum model of private criminalistics service unit in Thailand. This research was conducted using qualitative research consisting of documentary research, in-depth interview, and focus group. The results presented the situation of criminalistics in Thailand, service receivers were confident and emphasized the use of examination results in the criminal justice system, which is being done in the private sector but it is not yet known., According to verification services, currently, verification techniques and methods have been developed. In 2016, the law has promoted and supported the private detection service, together with a cooperative network. With reference to the problems and the obstacles, it was found that there appear to be insufficient resources, including budgets, personnel, tools and services which are not yet covered. Moreover, there seem to be a lack of laws authorizing personnel to work, the change of management policy, and a lack of a database storage system and the difficulty and complexity of the job. The opinions of extending criminalistics service to private sector revealed that this will reduce the workload of the government sector, but the participating private agencies must be reliable and certified. The inspectors must have a code of ethics as well as be able to keep secrets. They must operate with a regulatory agency and measures of budget support while also taking into the consideration of private investment risks as well. This research presented the optimal models. Firstly, government agencies screen the evidence, and then deliver the evidence to a private sector for the examination. The approving report is done by government agencies. This method reduces the burden of government verification and is able to make clients confident in the results. Creating a supervising agency for verification, it is able to monitor and control work for both public and private sectors more effectively
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/592
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CJA-CJA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasiwimon Thongklom.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.