Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/642
Title: การศึกษาต้นทุนโลจิสติกส์ในการนำเข้าสินค้าประเภทตู้จ่ายน้ำมันจากประเทศญี่ปุ่น กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด
Other Titles: The study of logistics costs of import dispensing fuel from Japan: a case study of ABC co., ltd.
Authors: สิริกมล บุญรัตน์
metadata.dc.contributor.advisor: ไชยรัช เมฆแก้ว
Keywords: โลจิสติกส์ -- การจัดการ -- ไทย;การนำเข้าของประเทศไทย -- ไทย
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ ขั้นตอนและระยะเวลา วิเคราะห์หาแนวทางลดต้นทุน เพิ่มกำไร และสร้างข้อได้เปรียบในการทำธุรกิจในการนำเข้าสินค้าประเภทตู้จ่ายน้ำมันจากประเทศญี่ปุ่น กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสม ใช้แนวคิดต้นทุนโลจิสติกส์เป็นกรอบการวิจัย ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการนำเอกสารค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละชิปเม้นมาวิเคราะห์ต้นทุนต่อตู้ และใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ปฏิบัติงานนำเข้าสินค้าเพิ่มเติม จำนวน 5 คน เพื่อนำเสนอโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์และรูปแบบการนำเข้าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบริษัทกรณีศึกษา การวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าพิสัย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ในการนาเข้าสินค้าประเภทตู้จ่ายน้ำมันจากประเทศญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นส่วนที่มากที่สุด รองลงมา คือ ต้นทุนการขนส่งสินค้า และสุดท้าย คือ ต้นทุนการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การนำเข้าสินค้าเทอม CIF มีประสิทธิภาพมากกว่าเทอม FCA ทั้งด้านต้นทุนโลจิสติกส์และด้านคุณภาพของสินค้า เพราะสามารถลดต้นทุนรวมในการนำเข้าได้ 3,439.86 บาทต่อตู้ (ร้อยละ 5.37) และมีข้อดีคือมีประกันภัยสินค้าทุกชิปเม้น ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ หากพิจารณาเรื่องต้นทุนการนำเข้า เทอม CIF ประหยัดต้นทุนได้มากกว่า แต่หากพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากต้นทุนการนาเข้า ปัจจัย หลัก ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกใช้เทอมการนำเข้าสินค้า คือ ปัจจัยด้านการติดต่อประสานงานและความสะดวก ปัจจัยด้านเวลาในการดำเนินงาน ปัจจัยด้านความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
metadata.dc.description.other-abstract: The purposes of this research are to study structure of logistics costs, procedures and duration, to analyze and find the way to reduce costs in order to make profit and create an advantage to company business of import dispensing fuel from Japan: A case study of ACB Co., Ltd. This research is mixed of quantitative research and qualitative research by using logistics costs concept as conceptual framework. The quantitative part was by comparing total cost per unit by using actual shipment invoice. The data were analyzed by using percentage, average, range, maximum, and minimum. The qualitative part was participated by 5 samples who worked in import work line by using in-depth interview as the research tool. The interviews were analyzed by content analysis. The results of the study showed that logistics costs of import dispensing fuel were divided into three parts, such as Inventory Carrying Cost, Transportation Cost, and Logistics Administration Cost, respectively. It appeared that CIF term was more effective than FCA term in terms of total cost per unit and goods quality. Import by CIF term can reduce total cost THB 3,439.86 per unit (5.37%) and this term also had insurance for shipment. Therefore, if considered by cost factor, import by CIF term was cheaper than FCA term. However, if considered by other factors, the main factors effecting interviewees’ decision were cooperation and convenience factor, operating time factor, and risk and uncertainty factor.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการโลจิสติกส์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563
metadata.dc.description.degree-name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การจัดการโลจิสติกส์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/642
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Grad-ML-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirikamol Boonrat.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.