Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/664
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Public participation in local development Lak Hok Municipality Muang District, Pathumthani Province
Authors: อติวัส ศิริพันธ์
metadata.dc.contributor.advisor: ติน ปรัชญพฤทธิ์
Keywords: การมีส่วนร่วมของประชาชน -- ไทย -- ปทุมธานี -- วิจัย;การพัฒนาท้องถิ่น -- ไทย -- ปทุมธานี;เทศบาลตำบลหลักหก (ปทุมธานี) -- การบริหาร -- การมีส่วนร่วมของประชาชน;การพัฒนาเทศบาล
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1)การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น 2)ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น และ 3) แนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตาบลหลักหก จังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิธีเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลหลักหก จำนวน 319 คน ทำการวิเคราะห์ด้วย สถิติพรรณนา ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติอนุมาน ค่า T-test, ค่า F-test และ Correlation สำหรับวิธีเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่เทศบาลหลักหก รวม 5 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับปานกลาง และระดับการมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ ด้านการดำเนินการ และด้านการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนขั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเทศบาลตำบลหลักหก ในขั้นอำนาจการเป็นตัวแทนมีระดับมากที่สุด ทั้งนี้ ในภาพรวมแล้วประชาชนมีส่วนร่วมในทุกๆ ด้านในระดับปานกลาง เท่านั้น โดยเทศบาลหลักหก ได้เน้นการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแผนงาน/โครงการ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ผ่านช่องทางต่างๆ แล้วรวบรวมความคิดเห็นจากประชาชนไปพิจารณากำหนดแนวทางให้สอดคล้องต่อไป นอกจากนี้ ผลการสัมภาษณ์ยังพบว่า เทศบาลฯ ให้ความสาคัญกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นไปตามระเบียบ ข้อกำหนด ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นทุกด้านมากขึ้น โดยผู้บริหารได้เน้นการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานของเทศบาลฯ ด้วยตนเองทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคุณภาพชีวิต และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจที่สาคัญให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นในทุกขั้นตอน เพื่อประโยชน์ในการระดมข้อมูลที่ได้จากประชาชนมาประกอบการวางแผนการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to explore public participation in local development, problems and obstacles, and resolutions of people living in Lak Hok Municipality, Pathumthani Province. The research applied mixed methods. To obtain quantitative data, the instrument was a set of questionnaires completed by 319 respondents living in the responsible area of the municipality. The data were analyzed using descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation, T-test, F-test, and correlation. Qualitative data were collected from interviews with 5 key informants who were officials at the municipality. The result revealed that the majority of the respondents had knowledge and understanding of local administration at a medium level. The levels of public participation in terms of decision making, operation, and evaluation were medium. Representation was found to be at the highest level, reaching the ‘Empower’ stage of the public participation spectrum. In conclusion, the result showed that the public participation of those living in the municipality was at a medium level. Lak Hok Municipality mainly publicized plans and projects to promote public participation through different channels. Public opinions and feedbacks were applied to the determination of administrative approaches. According to the result from the interviews, the municipality emphasized the publication of news and information related to rules and regulations to promote public participation in all aspects. The municipal administrators put an emphasis on public relations to promote public understanding of the municipality’s responsibilities in improving infrastructure and living quality for public benefits, to motivate people to participate in local development, and to learn public feedbacks which could be applied to the municipality’s planning for projects and tasks.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563
metadata.dc.description.degree-name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/664
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atiwas Siripun.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.