Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/667
Title: | การนำนโยบายไทยนิยมยั่งยืนไปปฏิบัติในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนวัตวิถี บ้านโนนกอก จังหวัดอุดรธานี |
Other Titles: | Sustainable Thaism policy implementation to promote innovation-way tourism in Ban Non Kog, Udontani Province |
Authors: | พนัญญา เจริญศิวกรณ์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | เฉลิมพร เย็นเยือก |
Keywords: | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- อุดรธานี;การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- อุดรธานี -- บ้านโนนกอก;การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- อุดรธานี;อุดรธานี -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษามีวัตถุประสงค์เพอื่ ศึกษา 1) โครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง นวัต วิถี 2) การนำนโยบายไทยนิยมยั่งยืนไปปฏิบัติในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนวัตวิถี และ 3) แนวทาง พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนวัตวิถีบ้านโนนกอก จังหวัดอุดรธานี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงนวัตวิถี ร่วมกับการศึกษาเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) แล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ประกอบการอธิบายผลสรุปการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ชาวบ้านบ้านโนนกอก อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีจุดแข็งสำคัญคือ ภูมิปัญญาการทอผ้าที่ได้สืบทอดกันมานาน และ ความรักสามัคคีของคนในชุมชน แต่ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการย้ายถิ่นฐานของชุมชน อีกทั้งการใช้ ระยะเวลาในการทอผ้าที่ใช้เวลานาน จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผนวกกับ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้กำลังซื้อในหลายภาค ส่วนลดลง แต่ต่อมาพบว่าบ้านโนนกอกได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนใน ด้านต่างๆ ที่สาคัญคือการประชาสัมพันธ์ความสวยงามของผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญา สำคัญของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักท่องเที่ยว และผู้ชื่นชอบในผ้าทอโบราณ มีความต้องการ เพิ่มมากขึ้น ส่วนการสนับสนุนของภาครัฐต่อชุมชนโดยผ่านการขับเคลื่อนนโยบายไทยนิยมยั่งยืน ได้ประสบความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญ โดยประเมินผลจากการเรียนรู้ของชาวบ้านในการพัฒนา ลวดลายผ้าให้ทันสมัยแต่ยังคงเอกลักษณ์สำคัญ ประยุกต์ใช้วัสดุในพื้นที่ประกอบการทอผ้า สร้าง รายได้เพิ่มมากขึ้นทำให้อัตราการย้ายถิ่นลดลง ข้อเสนอแนะสำคัญจากผลการศึกษา คือ ภาครัฐควร เน้นการสร้างเครือข่ายจากทุกภาคส่วน ให้ร่วมสนับสนุนชุมชน ให้ความรู้ และตระหนักถึง ความสำคัญในภูมิปัญญาท้องถิ่นตน และให้เน้นอนุรักษ์ พัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนอย่าง ยั่งยืนต่อไป |
metadata.dc.description.other-abstract: | This research aimed to explore infrastructure necessary for the promotion of innovationway tourism, the implementation of sustainable Thaism policy to the promotion of innovation-way tourism, and development approaches for the promotion of innovation-way tourism in Ban Non Kok,Udonthani Province. The research was conducted qualitatively. Data collection was conducted through interviews with those who played roles in innovation-way tourism and related documents. Content analysis was applied to analyze data. The results revealed that the strengths of the people in Ban Non Kok were their local wisdom in weaving and unity and harmony. However, nowadays, the number of woven fabric products did not meet the market demand due to social and economic changes, migration, and the long weaving process. In addition, economic recession was another factor causing a decrease in demand. Ban Non Kok was supported by public and private sectors, especially public relations, which helped promote their woven fabric products through the unique beauty of woven fabrics and their local wisdom and increase the demand for the fabric products among traditional fabric lovers and tourists. The government policy was significantly implemented to support innovation-way tourism. The success of the policy was evaluated from the learning outcomes of the people in the creation of modern fabric patterns still embracing the traditional uniqueness and the application of local materials to their woven fabric products. This would contribute to an increase in their family income and a decrease in the migration rate. The research recommended the government emphasize the promotion of collaboration with networks and understanding as well as awareness of the value of local wisdom to ensure the sustainability and the strength of their community |
Description: | วิทยานิพนธ์ (รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563 |
metadata.dc.description.degree-name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/667 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | PAI-PA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pananya Charoensivakorn.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.