Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/674
Title: กลุ่มผลประโยชน์และการดำรงอยู่ของนโยบายสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย
Other Titles: Interest group and the existence of petroleum concession in Thailand
Authors: กรกสิวัฒน์ เกษมศรี, หม่อมหลวง
metadata.dc.contributor.advisor: จรัส สุวรรณมำลำ
Keywords: สัมปทานปิโตเลียม;นโยบายสาธารณะ -- ไทย;กลุ่มผลประโยชน์;ปิโตเลียม -- ไทย
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ดุษฎีนิพนธ์นี้ ทำการศึกษากระบวนการกำหนดนโยบำยการให้สัมปทานปิโตรเลียมของไทยว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมจึงเลือกใช้ระบบสัมปทาน (Concession System) และไม่ใช้ระบบอื่น ๆ เช่น ระบบสัญญา (Contractual System) ที่ใช้อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน วิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มุ่งแสวงหาความจริงในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ได้แก่ มติสหประชำชาติ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และฉบับแก้ไขทุกฉบับ ศึกษาความเป็นมาของสัมปทานฉบับแรกของโลก ศึกษาการเข้าครอบครองแหล่งพลังงานของประเทศมหาอำนาจในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงศึกษากฎหมายการจัดการปิโตรเลียมของประเทศอื่น ๆ ฯ ลฯ โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะตามตัวแบบเชิงเหตุผล (Rational Decision-Making Model Approach) มาเป็นกรอบการวิเคราะห์และแปลความหมาย ผลการวิจัยพบว่าสัมปทานปิโตรเลียมไทยเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของตะวันตกในยุคสงครามเวียดนาม โดยมีหลักการสำคัญคือ กำรจำกัดอำนาจอธิปไตยเหนือทรัพยากรของรัฐ และการโอนกรรมสิทธิ์ (Transfer of Ownership) ปิโตรเลียมให้เป็นของผู้รับสัมปทานแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive rights) เพื่อประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น กรรมการ และผู้บริหาร ให้ทรัพยากรเหล่านี้ไม่สามารถสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในมิติใหม่ ซึ่งหมายถึง สวัสดิการ (Welfare) และความผาสุก (Well-Being) แก่คนในประเทศได้ เพราะแม้ว่าประเทศจะมีทรัพยากรปิโตรเลียมแต่เสมือนไม่มี กระบวนการกำหนดนโยบายสัมปทานจึงไม่เป็นไปตามตัวแบบเชิงเหตุผล แต่อธิบายได้ด้วยทฤษฎีตัวแบบเชิงสถาบัน (Institutional Approaches) เช่น ทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์ หรือหลายทฤษฎีผสมผสานกัน งานวิจัยนี้ยังนำเสนอการคลี่คลายของอำนาจและอิทธิพลจากยุคเริ่มต้นที่บริษัทน้ำมันต่างชาติและมหาอำนาจตะวันตกเข้ามีบทบาท มาสู่ยุคปัจจุบันที่ข้าราชการระดับสูง นักวิชาการ และนักธุรกิจ เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลแทนที่ในกระบวนการกำหนดนโยบายการจัดการทรัพยกรปิโตรเลียมว่าเป็นมาอย่ำงไร
metadata.dc.description.other-abstract: This dissertation was conducted to study the petroleum concession policy-making process of Thailand to determine how it originated and why the government chose to use the Concession System and not to use other systems such as the Contractual System used in ASEAN countries. This qualitative research aims to find the truth in phenomena arising from documentary research such as the United Nations resolution, Petroleum Act B.E. 2514, studying the history of the world's first concession, studying the acquisition of petroleum resources of western powers in developing countries including studying petroleum management laws of other countries by using the theory of public policy processes according to the Rational Decision-Making Model as a framework for analysis and interpretation. The research results found that the Thai petroleum concession was formed under Western influence during the Vietnam War with the main principles comprising the limitation of sovereignty over state resources and the transfer of petroleum ownership to the exclusive concessionaire for the best benefit of the shareholders, directors, and executives. This policy makes Thailand impossible to provide new energy security, which means welfare and well-being for Thais from its petroleum. The process of formulating a concession policy does not follow a rational model, but it can be explained by institutional theory such as interest group theory etc. The research also presents the dissolution of power and influence from the early days when foreign oil companies and Western powers came into play. It has come to the present time where senior government officials, academics and businessmen have replaced roles and influences on the petroleum resource management policy process.
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/674
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:PAI-PA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kornkasiwat Kasemsri.pdf13.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.