Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/717
Title: | การบริหารความปลอดภัยในการทำงานและการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) |
Other Titles: | Safety work management and health belief model effect to construction workers behavior in the green line mass rapid transit system project (Mochit to Sapanmai to Khukhot section) |
Authors: | พัชนิดา ศิลานนท์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | กฤษฎา มูฮัมหมัด |
Keywords: | ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง -- วิจัย;สุขภาพกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต;ความปลอดภัยในการทำงาน -- วิจัย |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) (2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารความปลอดภัยในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) (3) เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมความปลอดภัย ในการทำงานของพนักงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานก่อสร้างของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ มีจำนวนพนักงานทั้งสิ้น 5,701 คน สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน(Multistage Sampling) โดยการสุ่มตัวอยา่ งแบบช้ันภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มตามสัดส่วนของพนักงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือและผู้วิจัยอาศัยการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience Sampling) ในการเก็บแบบสอบถามจนกระทั่งได้ครบตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 400 คน วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วย t-Test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple RegressionAnalysis) ผลการวิจยั พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 21-30 ปี มีสถานภาพ สมรส มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในสัญญาที่ 1 บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต ์ จำกัด (มหาชน) มีตำแหน่งงานอยู่ในระดับคนงาน มีอายุการทำงาน 1-2 ปี ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการเข้า ฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและไม่เคยได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน ปัจจัยการบริหารความ ปลอดภัยในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดบั มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบวา่ ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภยั มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านนโยบายความปลอดภัย ปัจจัยการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการรับรู้ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรับรู้ความรุนแรงหลังการเกิดอุบัตติเหตุ และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นราย ข้อพบว่า พนักงานดูแลสุขภาพอนามัย ของตนเองให้แข็งแรงเพื่อมีความพร้อมในการทำงานอย่าง เสมอมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ พนักงานทำงานด้วยความระมดั ระวังเสมอ ผลการทดสอบสมมติฐานพบวา่1) ปัจจัยส่วนบุคคล จากผลการวิจัยพบว่า อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด รายได้ต่อเดือนสัญญาจ้าง ตำแหน่งงาน อายุการทำงาน และประสบการณ์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัย ที่แตกต่างกนัส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัย ในการทำงานของพนักงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) แตกต่างกันอยา่ งมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.052) ปัจจัยการบริหารความปลอดภัยในการทำงาน จากผลการวิจยั พบว่า ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยมีอิทธิพลมากที่สุด (β = 0.303) รองลงมาคือ ด้านนโยบายความปลอดภัยของบริษัท (β = 0.167) ตามลำดับสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรได้ร้อยละ 24.6(Adjusted R2 = 0.246) 3) ปัจจัยการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ จากผลการวิจัยพบว่า ด้านการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัตติเหตุจากการทำงาน (β = 0.536) สามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรไดดร้อยละ 29.9 (Adjusted R2 = 0.299) |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of this research are to study ( 1) the difference of personal characteristics, which influence construction workers behavior in the green line mass rapid transit system project (MOCHIT to SAPANMAI to KHUKHOT section) (2) the safety work management, which influence construction workers behavior in the green line mass rapid transit system project (MOCHIT to SAPANMAI to KHUKHOT section) and (3) health belief model, which influence construction workers behavior in the green line mass rapid transit system project (MOCHIT to SAPANMAI to KHUKHOT section). Population of this research is construction workers of the green line mass rapid transit system project and there are 5,701 people in total. For the data collection, the researcher chooses Multistage Sampling by Stratified Random Sampling so as the data collection would match with sample in the research and the researcher has applied Convenience Sampling from sample in the research in the sum of 400 people. Descriptive statistics analysis such as frequency distribution, percentage, average and standard deviation and Inferential statistics analysis by t-Test, F -test, and Multiple Regression Analysis are employed in this research. Research result is most of the respondents are male, aged 21-30 years old, being married with a bachelor’s degree or higher, having the average monthly income of less than or equal to 15,000 baht, working in the contract 1 - Italian Thai Development Public Co., Ltd. and being construction workers in 1-2 years, having experience in safety training and never had an accident at work. The safety work management is generally at high level that the most are compliance with safety regulations, the second is safety policy. Health belief model is generally at highest level that the most are perceived susceptibility, the second is perceived severity. Construction workers behavior in the green line mass rapid transit system project is generally at highest level by employees health care to be strong and always ready to work, then employees always work with caution. Test result hypothesis is: 1) According to research in term of personal characteristics, namely age, education, monthly income, employment contract, job position, work experience, and different safety training experience have a great impact on construction workers behavior in the green line mass rapid transit system project (MOCHIT to SAPANMAI to KHUKHOT section) in general differently. The statistical significance is at 0.05. 2) According to research, the safety work management, which influence construction workers behavior in the green line mass rapid transit system project (MOCHIT to SAPANMAI to KHUKHOT section) the most influential factor is compliance with safety regulations (β = 0.303), the second factor is safety policy (β = 0.167) respectively. The forecasting power is 24.6 percent. 3) According to research, health belief model, which influence construction workers behavior in the green line mass rapid transit system project (MOCHIT to SAPANMAI to KHUKHOT section) the most factor is perceived benefit and barriers (β = 0.536). The forecasting power is 29.9. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 |
metadata.dc.description.degree-name: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | บริหารธุรกิจ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/717 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | BA-BA-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pachanida Silanont.pdf | 4.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.