Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/730
Title: การประสานความร่วมมือกันระหว่างชาวไร่อ้อยกับสมาชิกในห่วงโซ่อุปทานอ้อยและนํ้าตาลทรายในภาคกลางของประเทศไทย
Other Titles: Supply chain collaboration between cane growers and related members of cane and cane sugar supply chain in central region of Thailand
Authors: เกียรติพงษ์ สันตะบุตร
metadata.dc.contributor.advisor: พัฒน์ พิสิษฐเกษม
Keywords: ห่วงโซ่อุปทาน;น้ำตาลทราย;ชาวไร่ -- ความร่วมมือ;ความร่วมมือทางการเกษตร
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลทรายมีความเกี่ยวข้องกับสมาชิกในห่วงโซ่การผลิตหลายประเภทตั้งแต่ชาวไร่อ้อยไปจนถึงโรงงานน้ำตาล ดังนั้น การจัดการห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลทรายมีความจำเป็ นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือกันระหว่างสมาชิกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานงานวิจัยนี้ใช้วิธีการผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างร่วมกับการสังเกตการณ์ ณ สถานที่จริงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหากับการวิจัยเชิงปริมาณผ่านการวิจัยเชิงสารวจด้วยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงจิตวิทยา ปัจจัยเชิง ปฏิบัติการและปัจจัยเชิงเศรษฐศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อการประสานความร่วมมือกันระหว่างชาวไร่ อ้อยกับสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน และกำหนดประชากรที่ทำการศึกษาวิจัยคือชาวไร่อ้อยทั้งหมดที่ เป็นสมาชิกภายใต้สังกัดสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อย เขต 7 (จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัด นครปฐมและจังหวัดสุพรรณบุรี) จำนวนทั้งหมด 69,669 คนจากการวิจัยเชิงคุณภาพสรุปว่าสมาชิกในห่วงโซ่อุปทานที่มีความเกี่ยวข้องกับชาวไร่อ้อยมีทั้งหมด 8 ประเภทคือ (1) แรงงานตัดอ้อย (2) รถคีบอ้อย (3) รถตัดอ้อย (4) รถบรรทุกอ้อย (5)โรงงานน้ าตาล (6) หัวหน้ากลุ่ม (7) องค์กร/สหพันธ์/สหสมาคม/ชมรมชาวไร่อ้อย และ (8)หน่วยงานที่เป็นกลไกภายใต้พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย และปัจจัยเชิงจิตวิทยา (การมุ่งหวังผลระยะยาว ความน่าเชื่อถือ ความเต็มใจแบกรับภาระไว้เอง ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรมเชิงประสานความร่วมมือกัน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระดับชุมชนและระดับครอบครัว) ปัจจัยเชิงปฏิบัติการ (การวางแผนและการตัดสินใจร่วมกัน และการแบ่งปันสารสนเทศ) และปัจจัยเชิงเศรษฐศาสตร์ (การส่งเสริมด้านตัวเงินและการส่งเสริมด้านที่ไม่ใช่ตัวเงิน) รวมทั้งหมด 11 ปัจจัยส่งผลต่อการประสานร่วมมือกันระหว่างชาวไร่อ้อยกับสมาชิก ในห่วงโซ่อุปทาน หลังจากนั้น ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบ ความสอดคล้อง (IOC) และได้ทดสอบแจกให้กับกลุ่มตัวอย่างจานวน 30 ชุด แล้วนำมาวิเคราะห์ ความเชื่อมั่นและวิเคราะห์อำนาจจำแนกเรียบร้อยแล้ว แบบสอบถามทั้งหมด 438 ชุดถูกแจกให้กับ ชาวไร่อ้อยผ่านสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อย เขต 7 และได้รับแบบสอบถามคืนมา 418 ชุดและตรวจสอบ ความครบถ้วนสมบูรณ์แล้วเหลือจำนวน 404 ชุด โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 404 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศ ชาย (ร้อยละ 64.6) มีอายุระหว่าง 51-60 ปี (ร้อยละ 42.8) มีระยะเวลาในการประกอบอาชีพเป็น ชาวไร่อ้อยระหว่าง 21-25 ปี (ร้อยละ 39.6) ถือครองที่ดินปลูกอ้อยในลักษณะของการเช่าอย่างเดียว (ร้อยละ 57.8) และมีพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมดระหว่าง 76-100 ไร่ (ร้อยละ 44.3)ผลการวิจัยสรุปว่าปัจจัยทั้งหมด 11 ปัจจัยส่งผลต่อการประสานความร่วมมือกันระหว่างชาวไร่อ้อยกับสมาชิกที่เกี่ยวข้องทั้ง 8 ประเภทที่ระดับแตกต่างกัน นอกจากนี้ วัฒนธรรมการประสานความร่วมมือกันเป็นปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อการประสานความร่วมมือกันระหว่างชาวไร่อ้อยกับสมาชิกที่เกี่ยวข้องครบทั้ง 8 ประเภท
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (บธ.ด. (บริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาเอก
metadata.dc.contributor.degree-discipline: บริหารธุรกิจ
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/730
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:BA-BA-D-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kiettipong Santabutra.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.