Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/757
Title: | อัตลักษณ์ของพลเมืองไทยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง |
Other Titles: | Thai citizen civic identities for civic public administration |
Authors: | จารุชา สหัสรังษี |
metadata.dc.contributor.advisor: | ติน ปรัชญพฤทธิ์ |
Keywords: | อัตลักษณ์ -- ไทย;พลเมืองไทย;พลเมืองไทย -- การมีส่วนร่วม |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การวิจัยเรื่องอัตลักษณ์ของพลเมืองไทยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง เป็นการวิจัย เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของพลเมืองไทยที่จะเข้ามาทำหน้าที่พลเมืองดี มีบทบาทร่วมในการบริหาร ภาครัฐ มีพลังนำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อบรรลุประโยชน์สาธารณะตามความต้องการ ของพลเมือง นอกจากนี้ยังศึกษากรณีผลสาเร็จของรัฐประศาสนศาสตร์พลเมืองซึ่งก่อให้เกิดการ พัฒนาประเทศไทย ทั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบคุณภาพ (Qualitative) การวิเคราะห์อภิมาน (Metaanalysis) โดยการรวมรวมข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ จากการทาการวิจัยเอกสาร (Documentary research) นา มาเปรียบเทียบสิ่งที่สัมพันธ์กันเพื่อเพิ่มกา ลัง (statistical power / data power) ของข้อมูล ใช้การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive reasoning) เพื่อสังเคราะห์ข้อมูล (Synthesis) นำไปสู่การสรุปอัตลักษณ์ของพลเมืองไทยภายใต้รัฐประศาสนศาสตร์พลเมืองที่ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนของประเทศไทยในการบรรลุประโยชน์สาธารณะ ผลการศึกษาสังเคราะห์อัตลักษณ์ของพลเมืองดีที่ควรจะมีได้ดังนี้ 1) การเป็นผู้ที่มีความรู้ มีการศึกษา และความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา 2) เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม 3) เป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วม และเห็นตนเองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และร่วมแก้ไขปัญหา 4) เคารพความแตกต่าง คือมีความเข้าใจ ยอมรับ และอดทนที่จะเคารพความแตกต่าง 5) เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 6) เคารพหลักความเสมอภาค คือการเห็นทุกคนเท่าเทียมกันในแนวระนาบ (horizontal) 7) เคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฏกติกาของ สังคมที่เป็นธรรม 8) เคารพและเชิดชู เชื่อฟังพระมหากษัตริย์ 9) มีความอดทนและเพียรพยายาม มุ่งมั่นตั้งใจในการทา หน้าที่ให้บรรลุผลสา เร็จ 10) มีความเป็นผู้นำ 11) มีความละอายเกรงกลัวต่อ ความชั่ว และมุ่งทำความดีร่วมกัน (Common goods) 12) มีความภูมิใจที่เป็นคนไทย |
metadata.dc.description.other-abstract: | The research on Thai citizen civic identities for civic public administration aimed to investigate appropriate identities of ideal Thai citizens who could take part in the public administration of Thailand and drive the nation towards public interest needed by the citizens and to explore case studies of successful civic contributions to the national development. This research used qualitative research methodology which included meta-analysis. The data obtained from documentary research were gathered and synthesized via deductive reasoning leading to the conclusion of the preferred civic characteristics. The result showed that an ideal citizen should be: (1) a knowledgeable, educated, and capable person who could solve the problems, (2) a person responsible for himself, others, and the society, (3) an active participant who engages in problems and resolution, (4) a person who respects and accept differences and heterogeneity, (5) a person who respects human dignity, (6) a person who stands on egalitarianism and accepts horizonta equity, (7) a person who respect the human rights, liberty, the fair regulation of the society, (8) a person who pays respect for the king and maintain his loyalty to the king, (9) a person who possesses patience and endeavors to work on his duties to achieve the goals, (10) a person who possesses leadership, (11) a person with morality who focuses on common goods, and (12) a person with pride in being Thai. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/757 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | PAI-PA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jarucha Sahudrungsi.pdf | 2.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.