Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/766
Title: กลวิธีการแต่งนวนิยายแฟนตาซี กรณีศึกษา กัลยาณี สุขษาสุณี
Other Titles: The technic of fantasy novel creation: case study of Kalyanee Suksasunee
Authors: สุพิชญา จันทราช
metadata.dc.contributor.advisor: อมรรัฏค์ เจริญโชติธรรม
Keywords: นวนิยาย -- การเขียน;นวนิยายแฟนตาซี;นักเขียนนวนิยายไทย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษาวิเคราะห์กรอบแนวคิดในการกำหนดกลวิธีการ แต่งนวนิยายแนวแฟนตาซีของกัลยาณี สุขษาสุณี โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อวิเคราะห์ ลักษณะนวนิยายแฟนตาซีของกัลยาณี สุขษาสุณี 2) เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแต่งนวนิยายแฟนตาซี ของกัลยาณี สุขษาสุณี และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อแบบไทยในนวนิยายแฟนตาซีของกัลยาณี สุขษาสุณี โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Textual Analysis) นวนิยายแฟนตาซีชุด เซวีน่า มหานครแห่ง มนตรา จำนวน 5 เล่ม ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะนวนิยายแฟนตาซีของกัลยาณี สุขษาสุณี มี 4 ลักษณะ คือ 1) เป็นนวนิยายที่อยู่ในเรื่องราวของโลกสมมติ 2) เป็นนวนิยายที่อยู่ในเกณฑ์ของความเป็นแฟนตาซี ระดับสูง หรือ High Fantasy 3) เป็นนวนิยายที่ตัวละครเอกมีการเดินทางทะลุมิติ และ 4) เป็นนว นิยายที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยของวีรบุรุษ วีรสตรี หรือผู้กล้า โดยนวนิยายแฟนตาซีของ กัลยาณี สุขษาสุณี ได้ใช้กลวิธีการแต่งที่หลากหลาย ได้แก่ การเปิดเรื่องโดยการบรรยายฉากและ บรรยากาศ การเปิดเรื่องโดยการบรรยายบุคลิกของตัวละคร การเปิดเรื่องโดยการบรรยายเหตุการณ์ ในส่วนของการดำเนินเรื่องนั้น ผู้เขียนได้มีการสร้างความขัดแย้งในการดำเนินเรื่องเป็นการใช้ความ ขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อม และความขัดแย้งของ มนุษย์กับตัวเอง ในจุดวิกฤติผู้เขียนได้มีการสร้างปมปัญหาหรือข้อขัดแย้ง เพื่อให้เนื้อเรื่องดำเนินไป ด้วยความตื่นเต้น สนุกสนาน ผู้เขียนนิยมใช้การปิ ดเรื่องด้วยความสุข ความสมหวัง สามารถคลี่คลาย ปัญหา และความสงสัยที่เกิดขึ้นในเรื่องราวได้อย่างชัดเจนและสมเหตุสมผล ในส่วนของแก่นเรื่อง ผู้เขียนต้องการสื่อถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวละคร และการเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อ ความสุขส่วนรวม ในส่วนของตัวละครผู้เขียนสร้างตัวละครลักษณะแบนและตัวละครลักษณะกลม ซึ่งทำให้ตัวละครมีการกระทำที่หลากหลายรูปแบบ ในด้านของการสร้างฉากหรือสถานที่ ผู้เขียน สร้างฉากที่เป็นฉากธรรมชาติ ฉากที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ฉากที่เป็นสภาพการดำเนินชีวิตของตัวละคร และฉากที่เป็นสภาพแวดล้อมเชิงนามธรรม ผู้เขียนได้ใช้มุมมองหรือการเล่าเรื่องหลากหลายแบบผสมกัน โดยใช้มุมมองผู้แต่งเป็นผู้เล่า ตัวละครในเรื่องเป็นผู้เล่า ผู้แต่งกำหนดให้ตัวละครตัวใดตัว หนึ่งเป็ นผู้เล่า ซึ่งการเล่าเรื่องหลากหลายมุมมองผสมกันทำให้ผู้อ่านไม่เบื่อกับวิธีการเล่าเรื่อง แบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลีลาการเขียนผู้เขียนใช้ภาษาไทยที่ดี มีการใช้ถ้อยคำ การใช้คำเปรียบ การ ใช้ประโยค ที่สละสลวยและเข้าใจได้ง่าย มีการใช้กลวิธีการเร้าความสนใจในการจบบทแต่ละบท โดยยั่วยุให้ผู้อ่านอยากรู้อยากเห็นต่อไป เพื่อเพิ่มความสงสัยและกระตุ้นความอยากรู้ในเรื่องราว ต่อไปให้กับผู้อ่านกรอบแนวคิดที่ผู้เขียนใช้ในการแต่งนวนิยายแฟนตาซี ผลการวิจัยพบว่า ผู้เขียนนำเสนอความเชื่อแบบไทยซึ่งเป็นความเชื่อเหนือธรรมชาติ 7 ประเภท คือ 1) ความเชื่อเรื่องชีวิตหลัง ความตาย 2) ความเชื่อเรื่องสิ่งศักด์ิสิทธ์ิ 3) ความเชื่อเรื่องลางสังหรณ์ในด้านของความฝัน 4) ความเชื่อเรื่องอิทธิฤทธ์ิปาฏิหาริย์ 5) ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง 6) ความเชื่อเกี่ยวกับเวทย์มนตร์ คาถา และ 7) ความเชื่อเรื่องอำนาจจิต นอกจากนี้ผู้เขียนได้มีการสอดแทรกความเชื่อตามหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนาลงไปในนวนิยาย ได้แก่ 1) ความเชื่อเรื่องกรรม และ 2) ความเชื่อเรื่องอริยสัจสี่ โดยผู้เขียนได้มีการผสมผสานความเชื่อลงไปในเรื่องราวของนวนิยายได้อย่างเนียบเนียนและ สมเหตุสมผล
metadata.dc.description.other-abstract: This research is a qualitative research, ai med to study and analyze the conceptual framework for Kalyanee Suksasunee’s fantasy novel creation techniques. The objectives were to 1) analyze the characteristics of Kalyanee Suksasunee’s fantasy novel; 2) analyze Kalyanee Suksasunee’s fantasy novel creation techniques; and 3) analyze Thai beliefs in Kalyanee Suksasunee’s fantasy novel based on textual analysis of 5 books of Sevena the Magical City. The findings indicated 4 characteristics of Ka lyanee Suksasunee’s fantasy novel, i.e., 1) the story in a fictional world, 2) a high fantasy novel, 3) the characters can travel to different world, and 4) the adventures of heroes, heroines, or paladins. Kalyanee Suksasunee’s fantasy novel creation techniques were various, i.e., the exposition through setting and atmosphere description; through personality description; and through storytelling. For the rising action, the writer brought conflicts between humans and humans; humans and Environment; and human and themselves. For the climax, the writers used cruxes or conflicts for the excitement and joy of the story. For the denouement, the writer ended with happiness, fulfillment, and disentanglement of all issues as well as doubts with unambiguity and reasonability. For the theme, the writer wanted to convey responsibilities of characters and self-sacrifice for common interests. For characters, the writer initiated both flat characters and round characters, leading to their different actions. For setting or site design, the writer designed natural, invented, livelihood, and intangible environmental settings. The writer combined diverse points of view or types of storytelling, i.e., the writer’s point of view as a narrator, characters as narrators, and a specifically determined character as a narrator. Storytelling through mixed points of views made readers not to get bored with just a certain type of it. For the writing style, the writer presented satisfactory Thai usage through wording, comparison, along with well-arranged and comprehensible sentences. The writer also caught reader attraction at the end of each ch apter in order to arouse their curiosity, increase their doubts, and motivate their eagerness to know what happened next. With respect to the writer’s conceptual framework for the fantasy novel creation, the findings revealed that the writer introduced 7 types of supernatural Thai beliefs, i.e., 1) beliefs in life after death, 2) beliefs in sacred items, 3) be liefs in ominous signs from dreams, 4) beliefs in miracles and supernatural power, 5) beliefs in amulets/ jujus,(6) beliefs in spells, and 7) the belief in psychic powers. Moreover, the writer also insert beliefs following moral principles of Buddhism in the novel, i.e., 1) beliefs in karma, a nd 2) beliefs in “The Four Noble Truths.” These beliefs were embedded in the story of this novel tactfully and logically
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิเทศศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/766
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CA-CA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supitchaya Juntarach.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.