Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/809
Title: ผลการใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: The effect of using science, technology and society approach in force and motion unit on science problem solving ability of Mattayomsuksa 4 students
Authors: แพรวโพยม บุณยมณี
metadata.dc.contributor.advisor: กาญจนา จันทร์ประเสริฐ
Keywords: การจัดการเรียนรู้ -- วิจัย;ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา);วิทยาศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการ แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม และการ จัดการเรียนรู้แบบปกติ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 70 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม แล้วนำกลุ่มที่เลือกมาสุ่มอย่าง ง่าย โดยวิธีการจับฉลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองจานวน 37 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ตาม แนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม และกลุ่มควบคุมจำนวน 33 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ จำนวน 5 แผน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกภาคสนาม แบบสังเกต พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยวิธี t-test แบบ Dependent Sample และ t-test แบบ Independent Sample ซึ่งผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
metadata.dc.description.other-abstract: The aims of this research were to compare the learning achievement and the science problem solving ability in the topic of force and motion unit of Mattayomsuksa 4 students based on science, technology and society approach and Traditional teaching method. The singular of this research was 70 students of Mattayomsuksa 4 during the first semester in academic year 2 0 1 8 which were sampled cluster. Then, the sample group was divided into 2 group by simple random sampling. The experiment group which contained 37 students using science, technology and society approach and 33 students in the control group using Traditional teaching method. The research instruments were composed of 5 lesson plans on force and motion, field notes, observation form, learning achievement test and science problem solving ability test. The data were analyzed by using mean, standard deviation t-test dependent and t-test independent. The results showed that student who learned physics through science, technology and society approach achieved a higher score in the learning achievement and science problem solving ability posttest and higher than student who learned physics through Traditional teaching method at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การสอนวิทยาศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/809
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Praewpoyom Boonyamanee.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.