Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/814
Title: การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องกรด-เบส ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน
Other Titles: An action research on the development of grade xi student's scientific reasoning inthe topic of acid-base using context-based learning approach
Authors: วราพร รัศมีจาตุรงค์
metadata.dc.contributor.advisor: ดวงฤทัย ศรีแดง
Keywords: การวิจัยปฏิบัติการ;วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน(มัธยมศึกษา);การจัดการเรียนรู้ -- วิจัย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: งานวิจัยปฏิบัติการนี้มีจุดประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานในเรื่องกรด-เบส เพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการของการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องกรด-เบส ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน โดยมีตัวอย่างจำนวน 45 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน ที่ถูกเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเรื่องกรด-เบส จำนวน 5 แผน รวมเวลาทั้งสิ้น 13 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์เครื่องมือสะท้อนผลการปฏิบัติงานได้แก่ อนุทินสะท้อนความคิดของนักเรียน แบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย แบบบันทึกข้อเสนอแนะจากครูพี่เลี้ยง แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานในเรื่องกรด-เบส ซึ่งพบว่าการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาได้จากกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เหตุผล การใช้คำถามปลายเปิดกระตุ้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งกิจกรรมที่ให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการหาคำตอบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนทุกคนมีพัฒนาการในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น เมื่อคิดเป็นคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยสูงขึ้น 0.48
metadata.dc.description.other-abstract: This action research aimed to study a good teaching practice and the development of grade XI student's scientific reasoning in a topic of acid-base by using context-based learning approach. The sample group was purposive sampling consisted of 45 students. The research instruments were composed of 5 developed lesson plans of 13 periods, 50 minutes per 1 period in a topic of acid-base by using the context-based learning approach and scientific reasoning competency test. The data were reflected though student's observation forms, field study reports, school mentor's feedbacks and the satisfaction test. The results showed the context-based learning approach could develop student's scientific reasoning potentiality. The scientific reasoning competency was enhanced by the implementation of learning activities that engaged student's reasoning expressions, open-ended questions that activated reasoning expressions, and group activities that allowed students to exchange their opinions to find answers. The student's scientific reasoning competency post-test score was higher than the pre-test score and the average normalized gain score is increasing up to 0.48 points.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การสอนวิทยาศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/814
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:EDU-TS-M-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn Rassameejaturong.pdf51.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.