Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/867
Title: | เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อการจัดแสดงเครื่องถ้วยไทย |
Other Titles: | Augmented reality for Thai ceramic pottery display |
Authors: | อภิวดี จิตเกษมภูรี |
metadata.dc.contributor.advisor: | พิศประไพ สาระศาลิน |
Keywords: | ความจริงเสมือน -- วิจัย;โบราณวัตถุ -- แบบจำลอง -- วิจัย;เครื่องถ้วย -- ไทย -- วิจัย |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | ในประเทศไทยมีการขุดค้นพบเครื่องถ้วยโบราณซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และยังเป็นมรดกของชาติที่มีมูลค่าสูงในต่างประเทศเครื่องถ้วยโบราณที่ถูกรวบรวมไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นั้นล้วนมีความเปราะบาง อีกทั้งเครื่องถ้วยชิ้นดี ๆ ที่นำมาจัดแสดงก็มีจำนวนน้อย การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ทำได้แค่ตั้งแสดงในตู้กระจกเท่านั้น ดูไม่น่าสนใจ อีกทั้งพิพิธภัณฑ์บางแห่งก็อยู่ไกล การเดินทางเพื่อเข้าชมก็ค่อนข้างลำบาก ทำให้ผู้ชมไม่เกิดความสนใจที่จะศึกษาหรืออนุรักษ์ เครื่องถ้วยเหล่านี้มากนัก และอาจเกิดเป็นปัญหาการขาดการอนุรักษ์ หรือสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมต่อมาในที่สุด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและจัดทำสื่อที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมหรือ Augmented Reality (AR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำการผสมผสานระหว่างโลกเสมือนจริง (Virtual World) เข้ากับโลกของความจริง (Real World) โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อประเภทต่างๆ อาทิ กล้องดิจิตอล สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้เห็นภาพเสมือนนั้นอยู่ในสถานการณ์นั้นในช่วงเวลานั้นๆจนมีความรู้สึกร่วมไปกับสถานการณ์นั้นๆว่าเป็นความจริงเข้ามาสำหรับจัดแสดงเครื่องถ้วยโบราณที่ถูกขุดค้นพบในประเทศไทยให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความสนใจ ปูความรู้ และใช้ประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงาน องค์กร หรือพิพิธภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องโดยมีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการนำสื่อหนังสือสามมิติมาเป็นเครื่องมือในการนำเสนอ ให้ข้อมูล รายละเอียดความเป็นมาของเครื่องถ้วยไทย ด้วยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเข้ามาสำหรับจัดแสดงเครื่องถ้วยไทยในรูปแบบวัตถุสามมิติซึ่งจะทำให้การจัดแสดงเครื่องถ้วยนั้นน่าสนใจขึ้น ดูได้หลากหลายมุมมอง เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และไม่จำเป็นต้องไปถึงพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงซึ่งบางที่ก็อยู่ไกลจากผลการวิจัยพบว่าเมื่อใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเข้ามาเพื่อใช้จัดแสดงเครื่องถ้วยไทยโดยสื่อผ่านหนังสือสามมิตินั้นสามารถสร้างความแปลกใหม่ในด้านการนำเสนอทำให้เกิดความพึงพอใจ และความสนใจที่จะเปิดรับความรู้เกี่ยวกับเครื่องถ้วยไทยในระดับเหมาะสมดีถึงดีมาก |
metadata.dc.description.other-abstract: | In Thailand, the ancient Thai ceramics potteries are of importance to the historical and national heritage which place a high value in foreign countries. They were collected to show in each museum’s exhibition of Thailand, but those are easily fragile. They are only shown in plain glass cabinets. Some museums are located in the upcountry and hard to reach causing people not to pay attention to learn about the history of them. This may result in a problem of culture conservation or cultural inheritance the next future. This research therefore aims to design and create augmented reality technology for the display of Thai ceramic pottery to be easier to learn. AR a technology that brings a combination of virtual world to the real world (Real World) through various types of connected devices such as digital cameras, smartphones or other devices. Helps users see the virtual image in that situation during that time until there was a shared feeling with that place. It can also be used to generate interest, pave the way for knowledge and promote the organization, museum or related agencies. In this research a pop-up book was used as a tool for presenting information about the history of Thai ceramic pottery through assisting by augmented reality technology and exhibiting Thai ceramic pottery in the form of three- dimensional objects which will make the display more interesting because it can be viewed from multiple angles and easily accessible. Moreover, visitors do not have to go to museums as some of which are located in upcountry. It can be concluded that the augmented reality technology used to display Thai ceramic pottery through pop-up books could create a novelty in the presentation, indicating satisfaction, good suitability and willingness to accept knowledge about Thai ceramic pottery. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศล.ม. (คอมพิวเตอร์อาร์ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 |
metadata.dc.description.degree-name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | คอมพิวเตอร์อาร์ต |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/867 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | DIA- ComArt-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Apivadee Jitkaseamphuree.pdf | 5.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.