Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/868
Title: การออกแบบสื่อสามมิติ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน
Other Titles: 3D media design for the diagnosis of internal combustion engine problems
Authors: เมธา เหิงคำแก้ว
metadata.dc.contributor.advisor: วัฒนะ จูฑะวิภาต
Keywords: ภาพยนตร์สามมิติ -- การออกแบบ -- วิจัย;เครื่องยนต์สันดาปภายใน -- วิจัย;เครื่องยนต์ -- การประมวลผลข้มูล -- วิจัย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ปัจจุบันรถยนต์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและมีผู้ใช้งานรถยนต์ที่มีประสบการณ์ในการใช้รถยนต์ไม่นานนัก จากสถิติของกรมการขนส่งทางบก ในเดือน มกราคม 2561 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ 268,989 คัน และมีสถิติการขอรับใบอนุญาตขับขี่ใหม่จากกรมการขนส่งทางบกจานวน 897,000 ฉบับ จากข้อมูลดังกล่าวทาให้ทราบว่ามีผู้ใช้รถยนต์ที่ไม่เคยใช้รถยนต์มาก่อน ซึ่งบุคคลในกลุ่มนี้มีอาจไม่ไม่ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์และหลักการทางานของเครื่องยนต์ จึงเป็นผลทำให้เกิดงานวิจัยฉบับนี้เพื่อจะสร้างสื่อใหม่ที่เป็นสื่อ 3 มิติโดยทำให้สื่อโต้ตอบกับผู้ใช้งานซึ่งเรียกว่าสื่อแบบอินเตอร์แอคทีฟซึ่งข้อดีคือ ทำให้ผู้ใช้ได้รู้สึกถึงการได้ตอบโต้ได้ทำการเรียนรู้ผ่านการลงมือใช้งานสื่อซึ่งจะส่งผลให้เกิดความจำได้ยาวนานและยังรู้สึกสนุกกับสิ่งที่ปฏิสัมพันธ์โดยไม่รู้ตัว สื่อรูปแบบใหม่นี้จะจำลองการทำงานของเครื่องยนต์และผู้ใช้งานสื่อสามารถเลือกมุมมองของสื่อได้อย่างอิสระโดยใช้งานสื่อผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนและมีการตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้กับสื่อทาให้ผู้ใช้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานของเครื่องยนต์ได้ดีกว่าสื่อแบบเดิม สื่อ 3 มิติใหม่นี้ได้นำเอาเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า 2 มิติ ซึ่งสื่อ 3 มิตินี้ จะมีมิติด้านแนวลึกเพิ่มเข้ามาทำให้ภาพเกิดความสวยงามและสมจริง โดยการศึกษาครั้งนี้ได้นำสื่อ 3 มิติมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีของสื่อแบบอินเตอร์แอคทีฟทำให้ได้สื่อแบบใหม่ที่สามารถเลือกมุมมองได้อย่างอิสระนอกจากนี้สื่อแบบ 3 มิติ การศึกษาครั้งนี้ได้นำบริการฝากไฟล์ 3 มิติของเว็บไซต์ Sketchfab มาประยุกต์ใช้โดยการสร้างภาพจาลองในโปรแกรม 3 มิติเพื่อจาลองการเคลื่อนไหวการทำงานของเครื่องยนต์และกาหนดการเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับเสียงบรรยายเพื่อนำไปอัพโหลดในระบบของเว็บไซต์ Sketchfab มีการจัดทำให้อยู่ในรูปแบบของแอปพลิเคชันในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายพร้อมกับฟังก์ชั่นค้นหาสื่อในแอปพลิเคชันซึ่งวิธีการค้นหาสื่อที่อยู่ในแอปพลิเคชันต้องใช้รหัสที่ได้มาจากการอ่านค่าของระบบไดแอกนอสทิค ซึ่งเป็นระบบแจ้งเตือนข้อผิดพลาดของเครื่องยนต์โดยการอ่านค่าจากเซ็นเซอร์ที่อยู่ในรถยนต์และนำรหัสที่ได้มาค้นหาในแอปพลิเคชันที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น
metadata.dc.description.other-abstract: Currently, number of cars in Thailand has increased and there are few number of experienced car user. From Department of Land Transport statistic, there are 268,989 new registration cars in January 2018 and 897,000 new car license From statistic, it shown that many car users has no-experience with car before. No-experienced car user might don’t know car engine principle and problem may occur. This research was conducted to create new 3D media which can react with user called “Interactive media”. Interactive media user could understand through hand- on experience responded which promoted long-term memory and entertain with media automatically This media was simulated car engine work and allows user to choose any viewing angles by using smartphone. The media was responded between user and media which promote car engine understanding better than existing media. The 3D media has been developed technology from 2D media, which addition of depth dimension makes it more realistic. This study applied 3D media work collaborates with interactive media technology to created new media which allowed user chooses any viewing angles. Moreover, this study adopted ‘Sketchfab’ clouding service website to created 3D simulation. Car engine work motion was simulated and adjust movement comply with subtitle to upload in Sketchfab website. This media was developed to use in android application format which prompt to use. Searching function was applied for searching media in application by used code from diagnostic reader system. This system is engine notification system which read code from car sensor then encoded code was used for search in application. The result from media application user showed that car user who has experience less than 1 year, 50 persons of both male and female provided opinion that the 3D media can promote learning better than existing media. Moreover, 3D media also can apply in complex content i.e. car engine component. The media has advantage in collaboration between existing 3D media with interactive media which allowed user choose any viewing angle for example, if object 1 obscured object2, user can rotate 3D media through smartphone screen to reveal object2
Description: วิทยานิพนธ์ (ศล.ม. (คอมพิวเตอร์อาร์ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: คอมพิวเตอร์อาร์ต
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/868
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:DIA- ComArt-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Meta Heongkhamkaew.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.