Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/878
Title: | การศึกษานํ้าส้มสายชูหมักจากเปลือกกล้วยนํ้าว้าและการนำไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์หมู |
Other Titles: | Study on cultivated banana peel vinegar and its application in pork burger |
Authors: | เอื้องพร สมศรี |
metadata.dc.contributor.advisor: | กฤตพร รำจวนเกียรติ, คมแข พิลาสมบัติ |
Keywords: | น้ำส้มสายชูหมักจากเปลือกกล้วยนํ้าว้า -- วิจัย;สารต้านอนุมูลอิสระ -- วิจัย;แฮมเบอร์เกอร์;เปลือกกล้วย -- การใช้ประโยชน์ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | เบอร์เกอร์หมูมีส่วนประกอบหลักเป็น หมู ไขมันบด และเครื่องปรุงรส นํ้าส้มสายชูหมักจัดเป็นเครื่องปรุงรสที่สามารถใช้ในผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์หมูได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตนํ้าส้มสายชูหมักจากเปลือกกล้วยนํ้าว้า และการนำไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์หมู การหมักนํ้าส้มสายชูหมักจากเปลือกกล้วยนํ้าว้า (BPV) เริ่มจากกระบวนการหมักโดยใช้ยีสต์ Saccharomycese cerevisiae TISTR 5918 ซึ่งให้ผลผลิตเป็นแอลกอฮอล์เท่ากับ 11.30% และการหมักแอลกอฮอล์ให้เป็นกรดนํ้าส้มโดยเชื้อ Acetobacter aceti TISTR 354 ซึ่งให้ผลผลิตเท่ากับ 6.80% เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, ABTS และ Reducing Power พบว่า BPV มีค่าการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 0.91 ± 0.02, 1.90 ± 0.05 และ 5.14 ± 0.02% ตามลำดับ มีปริมาณสารประกอบ ฟีนอกลิกสูงถึง 75.23 ± 0.22 mg GAE/ml sample และสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคและแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสีย เช่น Escherichia coli O157: H7, Pseudomonas fluorescence JCM 5963, Pseudomonas aeruginosa ATCC 9027, Salmonella enterica serovar Enteritidis DMST 17368, Staphylococcus aureus TISTR 118, Citrobacter freundii และ Acinetobacter buamanii เมื่อนำ BPV ไปใช้ร่วมกับเบอร์เกอร์หมูแล้วทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสเพื่อทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค โดยกลุ่มที่เติม BPV สารสกัดมะยม (SGE) และ BPV: SGE ความเข้มข้น 1%, 1% และ 0.5: 0.5% ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าทั้ง 3 กลุ่มนี้ มีคะแนนความชอบโดยรวมซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เท่ากับ 4.83 ± 0.9, 4.60 ± 0.89 และ 5.03 ± 0.91 ตามลำดับ และเมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์เบอร์เกอร์หมูแช่เย็นที่อุณหภูมิ 0 ºC เป็นเวลา 0, 3 และ 6 วัน พบว่ากลุ่มที่เติม 1%BPV, 1%SGE และ 0.5: 0.5%BPV: SGE มีค่าการต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) โดยการทดลองกลุ่มดังกล่าวมีค่าการออกซิเดชันของไขมันที่ตํ่ากว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) |
metadata.dc.description.other-abstract: | Pork burger is one of the convenient food products which were consisted of pork, fat and various ingredients. Vinegar is widely used as a seasoning for burger. Therefore, the objectives of this research were carried out to the produce banana peel vinegar and apply it in the pork burgers. A two- step fermentation process of banana peel vinegar (BPV) production were alcoholic and acetic fermentation using Saccharomyces cerevisiae TISTR 5918 and Acetobacter aceti TISTR 354, respectively. The yield of alcohol and acetic acid were approximately 11.30% and 6.9%, respectively. Subsequently, BPV was analyzed for it by DPPH, ABTS and reducing power methods. Their inhibitions showed about 0.91 ± 0.02, 1.90 ± 0.05 and 5.14 ± 0.02%, respectively. Furthermore, the total phenolic content value was approximately 75. 23 ± 0. 22 mg GAE/ml sample. However, BPV was tested for the antimicrobial activity and it could strongly inhibit growth of both pathogenic and spoilage bacteria such as Escherichia coli O157: H7, Pseudomonas fluorescence JCM 5963, Pseudomonas aeruginosa ATCC 9027, Salmonella enterica serovar Enteritidis DMST 17368, Staphylococcus aureus TISTR 118, Citrobacter freundii, Acinetobacter buamanii, Klebsiella pneumoniae and Aeromonas caviae. Moreover, the sensory test of 1%BPV, 1%star gooseberry extracts (SGE) and 0.5: 0.5%BPV: SGE additions were evaluated. The overall acceptance exhibited 4.83 ± 0.9, 4.60 ± 0.89 and 5.03 ± 0.91, respectively. Finally, the pork burger was stored at 0ºC for 0, 3 and 6 days. Antioxidant activities especially DPPH and ABTS of the pork burger mixed 1%BPV, 1%SGE and 0.5: 0.5%BPV: SGE were significantly higher than control (p<0.05), whereas the lipid-peroxidation analysis were significantly lower than control (p<0.05) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2561 |
metadata.dc.description.degree-name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/878 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | BiT-Bio-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aueangporn Somsri.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.