Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/910
Title: การออกแบบสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ จากแนวคิดผู้นำสี่ทิศ สำหรับวัยเริ่มทำงานเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในองค์กร
Other Titles: The design of 3D animation media from disc personality for first jobbers to reduce conflicts in the organizations
Authors: นฤเบศร์ เจริญรัตน์
metadata.dc.contributor.advisor: พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา
Keywords: แอนิเมชั่น -- การผลิต -- วิจัย;ความขัดแย้งด้านการทำงาน;การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: ความขัดแย้งในองค์กรเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งในการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากร ผู้บริหารภายในองค์กรต้องใช้เวลากว่าร้อยละ 20 ของเวลางานทั้งหมดเพื่อจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ‘แนวคิดผู้นำสี่ทิศ’ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการเข้าใจตนเองและผู้อื่น จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อมุ่งลดปัญหาความขัดแย้งลง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลแนวคิดผู้นำสี่ทิศและกระบวนการออกแบบสื่อแอนิเมชันที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดผู้นำสี่ทิศ ให้กับกลุ่มวัยเริ่มทำงาน อายุ 21-25 ปี ให้สามารถพัฒนาตนเองได้ โดยขั้นตอนการศึกษาเริ่มวิธีการศึกษาจากงานวิจัยต่าง ๆ แนวคิดของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ด้วยการเล่าเรื่องผ่านตัวละครทั้ง 4 ที่มีความขัดแย้งกัน จนสุดท้ายต้องปรับตัวเข้าหากันและร่วมมือกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยงานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้แบ่งวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมงาน ขั้นตอนการผลิต และขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ผ่านเครื่องมือวิจัยผ่านแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่รับชมแอนิเมชัน รวมถึงการประเมินผลงานโดยอาจารย์ที่ปรึกษา นำไปสู่การสร้างเป็นแอนิเมชันที่เน้นใช้ตัวละครดำเนินเรื่องโดยใช้ภาพและเสียงประกอบการเล่าเรื่องแทนการใช้บทพูด เพื่อให้ผู้คนทุกชนชาติเข้าใจเนื้อหา อีกทั้งผลงานวิจัยยังเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์เนื่องจากสามารถเปิดกว้างสู่สากลในด้านของการรับชมได้ จากแบบสอบถามความคิดเห็นต่อแอนิเมชัน 3 มิติเรื่อง DISC C4VE จำนวน 35 คน พบว่ากลุ่มผู้ชมให้คะแนนความพึงพอใจด้านความสวยงามของการออกแบบฉากและตัวละครมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจด้านเนื้อเรื่องผู้ชมกลับให้คะแนนน้อยที่สุด นอกจากนี้กลุ่มเป้าหมายยังสามารถเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดผู้นำสี่ทิศเมื่อได้รับชมสื่อแอนิเมชันอีกด้วย
metadata.dc.description.other-abstract: Generally, in running an organization, conflict is an inevitable part of our workaday life. The average manager spends approximately 20 percent of his or her time dealing with workplace conflicts. Consequently, using DISC Personality can unlock the key to better relationships, conflict resolution, motivation, and self-growth. The purposes of this research were to enhance the self-growth of the first jobbers aged 21-25 and to study the process of 3D Animation about DISC Personality. The process of this research began with a review of Dr. Woraphat Phucharoen’s idea and other related literature. It became a short movie that used four characters that had conflict. Finally, they adapted to each other and helped the others reached the goal. The study was designed as a descriptive research by using three procedures consisting of preproduction, production process and postproduction. The research instrument included questionnaire and performance evaluation from the advisor, resulting in the design of the story by using images and sounds, making audience around the world understand even though they used different languages. Moreover, it will be released to the public worldwide online. According to the questionnaire gathered from 35 people about the satisfaction of DISC C4VE movie, the findings of the study were reported that the people were satisfied with digital backgrounds, scenes, and character design the most, while the storyline was rated the lowest. Moreover, the target group comprehended DISC Personality through 3D animation movie
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.(คอมพิวเตอร์อาร์ต)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2563
metadata.dc.description.degree-name: ศิลปมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: คอมพิวเตอร์อาร์ต
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/910
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:DIA- ComArt-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narubet Charoenrat.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.