Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/925
Title: | ความสามารถในการดูแลตัวเอง การรับรู้ความรุนแรงของอาการข้างเคียงจากเคมีบำบัด และความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้าร่วมโปรแกรมการสนับสนุน และให้ความรู้ |
Other Titles: | Self- care ability, perceived side effects intensity of chemotherapy, and anxiety in patients with cancer receiving educative-supportive program |
Authors: | พวงทอง จินดากุล |
metadata.dc.contributor.advisor: | อำภาพร นามวงศ์พรหม, นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์ |
Keywords: | มะเร็งเต้านม -- การรักษาด้วยรังสี -- วิจัย;มะเร็ง -- การรักษา -- ผลไม้พึงประสงค์ -- วิจัย;มะเร็ง -- การรักษาด้วยเคมี -- วิจัย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | วิจัยแบบ One Group Pre-Post Test Design นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ ต่อความสามารถในการดูแลตนเอง การรับรู้ความรุนแรงของอาการและความวิตกกังวลในผู้เป็นมะเร็งเต้านมระยะแรกที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 30 ราย ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มเป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมเป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง แบบบันทึกการรับรู้ความรุนแรงของอาการข้างเคียงที่ประเมินโดยใช้ ESAS และภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบที่ประเมินโดยใช้เกณฑ์ของ WHO วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความสามารถในการดูแลตนเอง ก่อน ระหว่าง และเมื่อสิ้นสุดโปรแกรม ด้วยสถิติ Repeated Measures ANOVA ความวิตกกังวล ก่อนและเมื่อสิ้นสุดโปรแกรม และความรุนแรงของอาการข้างเคียงระหว่าง และเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank test ผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการดูแลตนเองเมื่อสิ้นสุดโปรแกรม สูงกว่าก่อน และระหว่างเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .000) ความวิตกกังวลหลังเข้าโปรแกรมตํ่ากว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .000) และการรับรู้อาการข้างเคียงคือ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร และเหนื่อยล้าระหว่างเข้าโปรแกรม ตํ่ากว่าเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .000) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้เพิ่มความสามารถในการดูแลตนเอง ลดอาการข้างเคียง และความวิตกกังวลในผู้เป็นมะเร็งเต้านมระยะแรกที่ได้รับเคมีบำบัด |
metadata.dc.description.other-abstract: | This One Group Pre-Post Test Design reserach aimed to investigate the effectes of educative-supportive program on self care ability, perceived, side effects intensity and anxiety in the patients with early stage breast cancer undergoing adjuvant chemotherpy. A purposive sample of 30 patients was recruited and received educative-supportive program for 9 weeks. Orem self - care theory was used as a reseach framework. Data were collected by using self- care ability questionaires, Self-report of effects intensity assessed by ESAS, and WHO oral mucositis form. Personal data were analyzed by descriptive statistics. Self-care ability before, between and after the program were analyzed using repeated measures ANOVA. Anxiety before and after, and perceived effects intensity before between and at the end of the program were analyzed by Wilcoxon Signed Rank test. The finding revealed that self-care ability before, between, and after the program were significantly different (p=.000). Anxiety after the program was significantly decreased (p=.000) perceived effects intensity i.e., nausea/ vomitting, anorexia, and fatique was decreased. The finding show benefit of this program on self-care ability, effects intensity, and anxiety of the patients with early stage breast cancer receiving chemotherapy |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560 |
metadata.dc.description.degree-name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาโท |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | การพยาบาลผู้ใหญ่ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/925 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nur-Adult-M-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phuangthong Jindakul.pdf | 913.04 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.