Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/979
Title: วิเคราะห์เปรียบเทียบการอิมโพรไวส์ของบิลล์ อีแวนส์ และคีธ จาร์เร็ตต์ในบทเพลงไอเลิฟส์ยูพอร์จี
Other Titles: A comparative analysis of Bill Evans’s and Keith Jarrett’s improvisation on i loves you porgy
Authors: ศตวรรษ ทองบ่อ
metadata.dc.contributor.advisor: เด่น อยู่ประเสริฐ
Keywords: อีแวนส์, บิลล์ -- ผลงาน;จาร์เร็ตต์, คีธ -- ผลงาน;การอิมโพรไวส์ -- วิจัย;การเรียบเรียงเสียงประสาน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบการอิมโพรไวส์ของบิลล์ อีแวนส์ และคีธ จาร์เร็ตต์ ในบทเพลงไอเลิฟส์ยูพอร์จี โดยจะมุ่งเน้นไปยังประเด็นต่างๆ ที่มีความสำคัญได้แก่ เสียงประสาน การอิมโพรไวส์ การบรรเลงประกอบ และการตีความบทเพลง จากการศึกษาพบว่าบิลล์ อีแวนส์ และคีธ จาร์เร็ตต์มีการใช้เสียงประสานในลักษณะคล้ายและแตกต่างกันคือ ใช้การเข้าหาคอร์ดหลักด้วยคอร์ดขนานโครมาติก การวางแนวเสียงคู่ 4 เรียงซ้อน การใช้ทรัยแอดในช่วงเสียงบน สิ่งที่แตกต่างกันคือในการบรรเลงของคีธ จาร์เร็ตต์ ไม่พบการวางแนวเสียงในลักษณะดรอป 2 และการใช้คอร์ดที่ไม่มีโน้ตพื้นต้น การอิมโพรไวส์มีการใช้เทคนิคต่างๆ ที่คล้ายกันและแตกต่างกัน ประเด็นที่คล้ายกันประกอบไปด้วยการซํ้ารูปแบบจังหวะและการพัฒนาทำนอง สิ่งที่แตกต่างกันคือในการบรรเลงของคีธ จาร์เร็ตต์ไม่พบการอิมโพรไวส์โดยใช้คอร์ดแบบแท่ง ด้านการบรรเลงประกอบมีการใช้คอร์ดแตกในการบรรเลงประกอบ และการบรรเลงประกอบในจังหวะยก นอกจากนี้ยังใช้การบรรเลงประกอบที่ประกอบไปด้วยโน้ต 2-3 โน้ต รวมไปจนถึงมีการใช้โน้ตเสียงค้างในการบรรเลงประกอบ ด้านการตีความบทเพลงบิลล์ อีแวนส์ และคีธ จาร์เร็ตต์ มีการใช้โน้ตสะบัดบรรเลงควบคู่ไปกับทำนอง และมีการใช้ลีลาสอดประสานบรรเลงสอดแทรกหรือบรรเลงควบคู่ไปกับทำนอง สิ่งที่แตกต่างกันคือคีธ จาร์เร็ตต์มีการตีความบทเพลงโดยบรรเลงทำนองสูงขึ้นและตํ่าลง 1 ช่วงคู่แปด ในขณะที่บิลล์ อีแวนส์ใช้การขยายส่วนลักษณะจังหวะในการตีความบทเพลง
metadata.dc.description.other-abstract: This analysis, focused on a comparison between Bill Evans and Keith Jarret’s improvisation on “I Loves You Porgy”. The researcher focused on an important factors such as Harmony, Improvisation, Accompaniment and Interpreting on the tune. From an analysis, can be described in to 4 main factors on the following. In Harmony, the researcher found the similarity of Chromatic parallel approach, Quartal voicing and Upper structure on both pianists but they have the differentiation on using Drop 2 and Rootless Voicing which can be found on Bill Evan’s. On Improvisation, Repeating a rhythmic sequence and Motif development have been found as a similarity but Block Chord have been found only in Bill Evans’s line. In Accompaniment, a Broken Chords, Upbeat Comping, Two-Three Comping and Pedal Note Have been found as a similarity of both pianists. On Interpretation, Grace note and Counter point have been found as similarity. A different between two pianists was Keith Jarret tends to play an octave upper or below from a Melody While Bill Evans tend to use an Augmentation as a tool to Interpreting The tune
Description: วิทยานิพนธ์ ( ดศ.ม. (ดนตรี)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560
metadata.dc.description.degree-name: ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: ดนตรี
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/979
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Ms-Music-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sattawat Thongbor.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.