Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1176
Title: | เพศวิถีกับการดำเนินธุรกิจครอบครัวในสังคมไทย |
Other Titles: | Family businesses sexuality in Thai society |
Authors: | อาริยา ภูวคีรีวิวัฒน์ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ฉัตรวรัญ องคสิงห์, กนกรัตน์ ยศไกร |
Keywords: | ธุรกิจครอบครัว -- วิจัย -- ไทย |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ในการดำเนินธุรกิจครอบครัวในสังคมไทย และหาแนวทางให้ธุรกิจครอบครัวดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืนและมีความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่สามารถดำเนินธุรกิจมากว่า 20 ปี จำนวนรวม 18 คน ผลการศึกษาพบว่า การดำรงอยู่ของอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ในการดำเนินธุรกิจครอบครัวในสังคมไทย มีภาคปฏิบัติการทางวาทกรรมแทนพ่ออย่างสมํ่าเสมอและเข้มข้น ได้แก่ กลไกอุดมการณ์อันแนบเนียน แซ่เป็นเสมือนกลไกของอุดมการณ์อันมัดตรึงเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทายาทจึงเป็นการตอกยํ้าความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ ทางรอดคือการศึกษา วาทกรรมการเสียสละที่ผู้หญิงมีหน้าที่เป็นเพียงผู้อำนวยและผู้สนับสนุน เมื่อผู้ชายได้ถูกตีตราไว้ว่าเป็นผู้นำจึงเป็นอำนาจที่แฝงเร้นอยู่ภายใน และผู้นำการฝึกฝนเลี้ยงดูที่แตกต่าง สุดท้ายแล้ว พ่อและทุกคนในครอบครัวก็ยังคงมอบธุรกิจให้ลูกผู้ชายเป็นทั้งผู้ดูแลและสืบทอดธุรกิจและเป็นหัวหน้าครอบครัว โดยให้ลูกผู้หญิงเป็นแค่ผู้อุปถัมภ์หรือผู้คอยช่วยเหลือ แนวทางให้ธุรกิจครอบครัวดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืนประกอบด้วยปัจจัยใหญ่ๆ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางธุรกิจและปัจจัยด้านครอบครัว ซึ่งปัจจัยทางด้านธุรกิจ ประกอบด้วย สร้างกลไกในการรักษาและดึงดูดคนเก่ง นวัตกรรม เทคโนโลยี ยึดหลักธรรมาภิบาล และการนำธุรกิจครอบครัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนปัจจัยด้านครอบครัว ประกอบด้วย ผู้ก่อตั้งต้องมีวิสัยทัศน์ มีการวางแผนมีระบบและกลยุทธ์ในการบริหาร ปั้นทายาทให้มีความรู้ความสามารถและปลูกฝังค่านิยมที่ดี การเตรียมความพร้อมให้แก่ทายาทและให้ก็อำนาจในการบริหาร และความเต็มใจของทายาทในการรับช่วงต่อ ความมีเสถียรภาพของการถ่ายโอนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืน สิ่งที่ควรพิจารณาคือ การวางความรับผิดชอบทางธุรกิจให้กับทายาทหญิง-ชายนั้น ผู้ก่อตั้งควรยึดความเท่าเทียมในมิติของความเสมอภาคหญิง-ชาย |
metadata.dc.description.other-abstract: | The study has the objective to study patriarchy ideology in family business in Thai society and find a method for family business to continue sustainably with gender equality. The methods used in this research include qualitative method with in-depth interviews for 18 persons. The research result shows that existence of patriarchal ideology in family business in Thai society. With consistent and strong practice of discourse of fathers which include; sounds existence of patriarchy ideology. “Sae” - A tight mechanism is part of development of the next generation and emphasizes gender inequality. Discourse of Scarifies that female gender is seen as a facilitator and a supporter. Once the son is labeled as a leader, he has an implicit power making decision. And the family will give the leading role to the male. Fathers and family members continue to transition and succession on their businesses and give leading roles to males. Female is seen as nurture. Concepts to sustainably continue business conduct consist of two major factors; business and family. Business factors include; creating mechanism to maintain and attract talent, innovation, technology, good governance, and ability to change business into public form and successfully take the company into the stock market. Family factors include; founders must have visions, plans, management systems and techniques, ability to develop heirs with knowledge, skill, and embed positive values, preparing heirs ready and handing over the power, and heir’s willingness to take over the business. Stability of the business transfer is another factor to ensure business sustainability. An important point to consider is whether founders have considered gender equality as a factor with regard to giving business responsibility to their heirs |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557 |
metadata.dc.description.degree-name: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | ผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1176 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | CSI-LSBP-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ARIYA PHUVAKEEREEVIVAT.pdf | 3.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.