Please use this identifier to cite or link to this item:
https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1962
Title: | การจัดการวิกฤตเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจโรงแรมในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ภายใต้ภาวะวิกฤตโรคติดต่ออุบัติใหม่ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) |
Other Titles: | Crisis management for the survival of the hotel in Pattaya City, Chonburi Province under the epidemic crisis of the coronavirus 2019 (COVID-19) |
Authors: | แพรลฎา พจนารถ |
metadata.dc.contributor.advisor: | ณกมล จันทร์สม |
Keywords: | ธุรกิจโรงแรม -- ภาวะวิกฤติ -- วิจัย -- ชลบุรี;ธุรกิจโรงแรม -- ชลบุรี -- การจัดการ;โรคอุบัติใหม่ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยรังสิต |
Abstract: | การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจโรงแรม 3) ศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการวิกฤตในระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤต ระยะเหตุการณ์ภาวะวิกฤต และระยะหลังภาวะวิกฤตของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม 4) การวิเคราะห์แนวทางในการบริหารจัดการวิกฤตในระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤต ระยะเหตุการณ์ภาวะวิกฤต และระยะหลังภาวะวิกฤตกับความอยู่รอดของธุรกิจโรงแรม และ 5) เพื่อกาหนดแนวทางกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจโรงแรมภายใต้ภาวะวิกฤตโรคติดต่ออุบัติใหม่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จานวน 45 คน ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาประกอบด้วยประเด็นค่าใช้จ่ายเรื่องเงินเดือน พนักงาน ต้นทุนค่าใช้จ่าย และการใช้เทคโนโลยี การศึกษาสภาพแวดล้อมภายใต้ภาวะวิกฤต พบว่า สภาพแวดล้อมภายใต้ภาวะวิกฤตประกอบด้วย ปัจจัยด้านทาเลที่ตั้ง นโยบายของรัฐบาล ลักษณะของโรงแรม การบริหารต้นทุน บุคลากร การปรับตัว/การขับเคลื่อนองค์กร กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการวิกฤตในระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤต พบว่า มีการจัดทาแผนการตลาดที่มุ่งเน้นการตลาดออนไลน์และจัดทาแผนการบริหารบุคลากรเพื่อรองรับการให้บริการในระยะเกิดภาวะวิกฤต พบว่า มีการกู้เงินจากสถาบันการเงิน การใช้เงินทุนของกิจการ การบริหารค่าใช้จ่าย การปรับรูปแบบการบริการ การปรับเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การรวมกลุ่มธุรกิจ การปรับเปลี่ยนนโยบายและในระยะหลังภาวะวิกฤต พบว่า มีดาเนินการตามแผนบริหารจัดต่อเนื่องกัน การวิเคราะห์แนวทางในการบริหารจัดการวิกฤตในทั้งสามช่วงเวลากับความอยู่รอดของธุรกิจ พบว่า มีความแตกต่างกัน และแนวทางกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด สามารถนาเสนอแนวทางด้วยโมเดล CAMSA ที่ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1) แนวทางการปรับเปลี่ยน (Change) 2) แนวทางการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ (Alliance) 3) แนวทางการตลาด (Marketing) และ 4) แนวทางการจัดสรรเงินอย่างเพียงพอ (Sufficient Allocation) |
metadata.dc.description.other-abstract: | The objectives of this research were 1) to investigate the difficulties of hotel business operators; 2) to assess the environment of hotel business; 3) to study the guidelines for crisis management in the pre-crisis phase, the during crisis phase, and the post-crisis phase of hotel business operators; 4) to examine the guideline for crisis management in the pre-crisis phase, the during crisis phase, and the post-crisis phase and the survival of the hotel business; and 5) to determine an adaptation strategy for the survival of hotel business by using qualitative research. In the Chonburi provincial region of Pattaya city, 45 of the informants ran hotels and other hospitality-related businesses. The information was gathered by conducting in-depth interviews with the participants. The findings revealed that the issues that plagued the hotel industry were compensation, personnel, expenditures, and the use of technology. Location, government regulations, features of the hotel, cost management, staff, adaptation/mobility of the company, and target groups comprised the study of the environment during the crisis. The examination of crisis management guidelines in the pre-crisis period revealed that service-supporting internet marketing and people management strategies were established by company operators. During the crisis, company owners borrowed money from financial institutions and made changes to corporate capital, spending management, service modifications, target consumer group modifications, business integration, policy, and marketing. In the post-crisis phase, it was found that business operators continued to implement a management plan during the crisis. For the strategy of adaptation for the survival of hotel business in Pattaya area, Chonburi province the researcher can offer four guidelines with the CAMSA models follows: 1) Change, 2) Alliance, 3) Marketing, and 4) Sufficient Allocation. |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (บธ. ด. (บริหารธุรกิจ)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2565 |
metadata.dc.description.degree-name: | บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต |
metadata.dc.description.degree-level: | ปริญญาเอก |
metadata.dc.contributor.degree-discipline: | บริหารธุรกิจ |
URI: | https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1962 |
metadata.dc.type: | Thesis |
Appears in Collections: | BA-BA-D-Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PRAELADA POCHJANART.pdf | 3.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.