Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/357
Title: การประกอบสร้างความหมายการถวิลหาอดีตในภาพยนตร์ไทย
Other Titles: The meaning construction of nostalgia in Thai films
Authors: วงศกร วงเวียน
metadata.dc.contributor.advisor: กฤษณ์ ทองเลิศ
Keywords: ภาพยนตร์ไทย -- การผลิตและการกำกับรายการ;ภาพยนตร์ไทย -- การวิเคราะห์;ภาพยนตร์ไทย -- การตลาด
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “การประกอบสร้างความหมายการถวิลหาอดีตในภาพยนตร์ไทย” มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามิติด้านเนื ้อหาของภาพยนตร์ไทยที่สะท้อนการถวิลหาอดีต และ 2) เพื่อให้เข้าใจถึงการประกอบสร้างความหมายที่สื่อถึงการถวิลหาอดีตในภาพยนตร์ไทย การวิจัย ครั้งนีเ้ ป็ นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ภาพยนตร์ไทย 3 เรื่อง ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง “แฟนฉัน”, ภาพยนตร์เรื่อง “สิ่งเล็กเล็ก ที่เรียกว่ารัก” และ ภาพยนตร์ เรื่อง “เพื่อนสนิท” ซึ่งทัง้ 3 เรื่อง เป็นตัวแทนการถวิลหาอดีตในแต่ละช่วงวัย คือ วัยประถมศึกษา วัยมัธยมศึกษา และวัยมหาวิทยาลัย โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีมาประกอบการวิเคราะห์ดังต่อไปนี ้ แนวคิดหลังสมัยใหม่ แนวคิดเกี่ยวกับการโหยหาอดีต แนวทางการศึกษาเชิงสัญญะวิทยา และ การวิเคราะห์ภาษาภาพเชิงเทคนิค ผลวิจัยพบว่า มิติเนือ้ หาที่สะท้อนการถวิลหาอดีตมี 5 ลักษณะ คือ 1) การถ่ายทอดความ ทรงจำในอดีต 2) การถ่ายทอดประสบการณ์ในอดีต 3) การถ่ายทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมและ ประเพณีประจำท้องถิ่น 4) การเปลี่ยนผ่านของเวลา และ 5) ภาพชุมชนในอดีต ขณะที่วิธีการ ประกอบสร้างการถวิลหาอดีตมี 9 ประการคือ 1) สถานที่และอุปกรณ์ประกอบฉากที่สื่อถึงความ ย้อนยุค 2) เครื่องแต่งกายย้อนยุค 3) การสื่อความหมายแบบคู่ตรงข้าม 4) การใช้อนุนามนัย 5) การใช้แสงในเชิงสัญลักษณ์ 6) การใช้สีในเชิงสัญลักษณ์ 7) การใช้ระยะภาพในเชิงสัญลักษณ์ 8) การสร้างสัมพันธบทกับภาพยนตร์และบทเพลงในอดีต และ 9) การใช้เทคนิคการตัดต่อเพื่อสื่อ ความหมายในเล่าความย้อนอดีต
metadata.dc.description.other-abstract: This research aimed to investigate the content of Thai films reflecting nostalgia and the construction of nostalgia. This qualitative research was conducted based on textual analysis. The samples were three Thai films: Fan Chan (My Girl), Sing Lek Lek Thi Riak Wa Rak (A Little Thing Called Love), and Phuean Sa Nit (Dear Dakanda), which embraced nostalgia in three different age ranges: primary school age, high school age, and university age. The analysis was based on related theories including postmodernism, nostalgia, semiotics, and technical visual language. The result revealed that nostalgia was presented through five forms: past memory, past experience, local wisdom and traditions, time change, and past communities. Nostalgia was constructed through nine techniques: the use of retro places and props, the use of retro clothing, the presentation of binary oppositions, the use of synecdoche, semiotics in lighting, semiotics in distance, the presentation of the relationship of retro music and films, and the use of editing techniques in telling past stories.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2562
metadata.dc.description.degree-name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: นิเทศศาสตร์
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/357
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:CA-CA-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wongsakorn Wongwean.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.