Please use this identifier to cite or link to this item: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/922
Title: ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและจัดการท้องผูก ในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับประทานยากลุ่มโอปิออยด์ (OPIOIDS)
Other Titles: Outcomes of constipation prevention and management guideline in patients with advanced cancer receiving oral opioids
Authors: จิรภา ปรารมภ์
metadata.dc.contributor.advisor: อาภาพร นามวงศ์พรหม, น้าอ้อย ภักดีวงศ์
Keywords: มะเร็ง -- การรักษาด้วยยา -- ภาวะแทรกซ้อน -- วิจัย;ผู้ป่วยหนัก -- การดูแล;ผู้ป่วยมะเร็ง -- การพยาบาล
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยรังสิต
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ แบบวัดก่อนและหลังและมีกลุ่มเปรียบเทียบ (Before and After Intervention with Comparison group) เพื่อศึกษาผลของแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและจัดการท้องผูก ที่พัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ต่อระดับความเสี่ยงต่อการเกิดท้องผูก การรับรู้อาการท้องผูกและการรับรู้อาการที่เกิดร่วมกับท้องผูก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับยาบรรเทาปวดกลุ่ม Opioids ชนิดรับประทาน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ จานวน 30 ราย และกลุ่มใช้แนวปฏิบัติ จานวน 30 ราย ซึ่งได้รับการแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและจัดการท้องผูก เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานและแบบบันทึกการขับถ่ายอุจจาระ (Bowel Diary) เปรียบเทียบระดับความเสี่ยงต่อการเกิดท้องผูก การรับรู้อาการท้องผูก และการรับรู้อาการที่เกิดร่วมกับท้องผูก ก่อนและหลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติและระหว่างกลุ่มที่ได้การดูแลปกติ และกลุ่มใช้แนวปฏิบัติ ด้วยสถิติ Chi-square และ Fisher’s Exact Test ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดท้องผูก การรับรู้อาการท้องผูกและการรับรู้อาการที่เกิดร่วมกับท้องผูก ก่อนและหลังได้รับแนวปฏิบัติและระหว่างกลุ่มที่ได้การดูแลปกติและกลุ่มใช้แนวปฏิบัติ ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อการเกิดท้องผูก ในกลุ่มใช้แนวปฏิบัติ ลดลงจากระดับปานกลางเป็นระดับต่าจานวน 4 คน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ ควรป้องกันท้องผูกโดยการใช้ยาระบายตามแผนการรักษาอย่างสม่าเสมอ ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดย การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยที่เพียงพอ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ การมีกิจกรรมเคลื่อนไหว ฝึกการขับถ่าย และบันทึกการขับถ่ายอุจจาระด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ
metadata.dc.description.other-abstract: The objectives of this before and after intervention research with comparison group were to investigate the outcomes of constipation prevention and management practice guideline on risk of constipation, perceived constipation, and symptoms with constipation. Systematic sampling of 60 patients with advanced cancer receiving oral opioids were recruited and divided into two groups; 30 received a usual care and 30 received an evidenced-based practice guideline for constipation prevention and management. Risk of constipation, perceived constipation and symptoms with constipation were collected before and 4 weeks after the guideline. Data were analyzed by descriptive statistics, Chi-square and Fisher’s Exact Test. The findings showed that risk of constipation, perceived constipation and symptoms with constipation before and after and between intervention group were not significantly difference (p=.076). However risk of constipation of 4 patients in the intervention group was decreased from moderate level to low level. Laxative used and lifestyle modification with high fiber, adequate fluid intake, increase physical activity, bowel habit training, and regular bowel diary recording are suggested
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)) -- มหาวิทยาลัยรังสิต, 2560
metadata.dc.description.degree-name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
metadata.dc.description.degree-level: ปริญญาโท
metadata.dc.contributor.degree-discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/922
metadata.dc.type: Thesis
Appears in Collections:Nur-Adult-M-Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirapa Prarom.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.